กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

#ไม่รู้ไม่ได้#ประเภทคำสั่งเทรด Forex เข้าใจประเภทของคำสั่งเทรด ออเดอร์ ก่อนวางแผนการออกออเดอร์ใน Mt4

  • 1 replies
  • 1,369 views
#ไม่รู้ไม่ได้#ประเภทคำสั่งเทรด Forex เข้าใจประเภทของคำสั่งเทรด ออเดอร์ ก่อนวางแผนการออกออเดอร์ใน Mt4

การเทรดไม่ใช่แค่ว่าเปิด Buy หรือ Sell เมื่อถึงจุดที่ต้องการเทรด เพราะเมื่อท่านเปิดเทรด สิ่งแรกที่ท่านต้องการเห็นคือราคาหลังจากที่ท่านเปิดเทรดแล้ววิ่งไปทางที่ท่านเปิดเทรด ออเดอร์ที่ท่านจะเปิดเทรดค่อยจะมีกำไร หรือถ้าราคาวิ่งสวนทางที่ท่านเปิดเทรด ออเดอร์ที่เปิดเทรดก็จะติดลบ ต้องเข้าใจว่าออเดอร์ทำงานอย่างไร และเพราะเหตุใดถึงจะมีออเดอร์เกินหรือมากทางใดทางหนึ่งตอนที่ท่านเปิดเทรด ที่จะเป็นตัวทำให้ราคาเคลื่อนไหว แม้ว่าการเทรดเป็นเรื่องของความเป็นไปได้ แต่ถ้าเข้าใจว่าตลาดทำงานอย่างไร อออเดอร์ทำงานอย่างไร และออเดอร์มาจากไหนในสิ่งแวดล้อมที่ท่านเปิดเทรด จะเป็นตัวช่วยให้ท่านเห็นความเป็นไปได้มากขึ้น และกล้าที่จะทนถือรอนานแบบไม่รีบขายหมู
ประเภทออเดอร์ตามที่ Metatrader 4 เสนอ

เมื่อท่านเปิดเทรด Metatrader 4 ท่านจะเห็นว่าโปรแกรมนำเสนอดังนี้ Market order, Pending order (ประกอบด้วย Buy Limit, Buy Stop, Sell Limit และ Sell Stop), Stop loss และ Take profit ท่านจะเห็นว่าการกำหนด TP หรือ SL ก็เป็นออเดอร์ประเภทหนึ่ง นั่นหมายความว่าอย่างไร ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าออเดอร์ในตลาดทำงานอย่างไร  ข้อแรก ทุกประเภทออเดอร์เมื่อท่านเปิดหรือจัดการ จะสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อมีออเดอร์ตรงข้ามที่จะจับคู่เสมอ เช่นเมื่อท่านเปิด Sell ณ ราคาและเวลานั้นก็ต้องมี Buy ออเดอร์ ณ ราคาและเวลานั้น ถ้าไม่มีออเดอร์ที่ราคาท่านเปิด ออเดอร์ที่ท่านเปิดก็จะไปหาออเดอร์ที่ราคาต่อไป นั่นคือเหตุผลที่ทำให้ราคาขึ้น-หรือลง ความไม่สมดุลย์ของออเดอร์เกิดขึ้นเพราะแบบนี้ การที่ท่านออกจากตลาดไม่ว่าจะเป็นการปิดเองหรือ take profit หรือ stop loss ก็เท่ากับว่าท่านเปิดออเดอร์ตรงข้ามที่ท่านเปิดเทรดอยู่ ดังนั้นการปิดเองหรือ TP หรือ SL เมื่อท่านจัดการ ก็จะจับคู่กับออเดอร์ฝั่งตรงข้าม ถ้าไม่มีออเดอร์ตรงข้ามที่ราคานั้น ก็จะวิ่งไปหาออเดอร์ตรงข้ามที่ราคาต่อไป เช่นเดียวกัน


ดูจากชาร์ต Metatrader 4 อธิบายได้ดังนี้

1.   Market order – เป็นการเปิดเทรดเพื่อเข้าตลาดทันที หรือเป็นการเปิดเทรดราคาตลาดปัจจุบัน  (market price ในที่นี้ก็จะหมายถึงราคา Bid และ Ask แล้วแต่ประเภทออเดอร์ที่เปิดเทรดเช่น เมื่อเปิดเทรด Buy ออเดอร์ตรงข้ามที่เปิดเทรดคือราคา Ask หรือเมื่อเปิด Sell ออเดอร์ตรงข้ามคือราคา Bid ตอนที่เปิดเทรด) การเปิดเทรดแบบนี้สนใจแค่ราคาปัจจุบัน ดังนั้น Market order คือออเดอร์ประเภทที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของราคา เพราะเป็นออเดอร์ที่ใช้ liquidity ในตลาดที่ราคานั้นๆ

2.   Pending order  เป็นการกำหนดออเดอร์ที่ต้องการจะเทรดให้เปิดเทรด หรือกลายเป็น Market order เมื่อราคาตลาดมาถึงจุดที่ต้องการเปิดเทรด เงื่อนไขของ Pending order คือกำหนดราคาที่ต้องการเข้าไป ไม่ใช่การเทรดราคาปัจจุบัน ออเดอร์ประเภทนี้ก็จะเพิ่ม liquidity ให้กับตลาดที่ราคานั้นๆ ส่วน market order ก็จะลด liquidity ที่ราคานั้นๆ  ก็แบ่งเป็น buy stop, buy limit, sell stop และ sell limit

3.   Take Profit และ Stop loss ก็เป็นออเดอร์อีกประเภท เพราะเป็นการเปิดออเดอร์ตรงข้ามกับ position ที่ท่านเปิดอยู่ ก็จะมีการกำหนดราคาเข้าไปเป็นเงื่อนไข ต่างจากออเดอร์ประเภทที่ 2 คือเป็นออเดอร์เพื่อออกจากตลาด ส่วนออเดอร์ประเภทที่ 2 เป็นออเดอร์เพื่อเข้าตลาด


ภาพที่ 2 เป็นการอธิบายออเดอร์ที่เกิดจากการออกจากตลาด สมมุติที่เปิดเทรด buy หรือ sell แยกเป็น long/short position ท่านเปิดเทรด Buy แล้วกำหนด TP และ SL ตามภาพประกอบทั้ง TP หรือ SL คือท่านได้กำหนดออเดอร์ตรงข้ามที่ท่านเปิดเทรดไว้นั่นคือ Sell order ณ ราคาที่ท่านกำหนด  การที่ TP หรือ SL จะทำงานได้เมื่อราคาปัจจุบันมาถึง ด้วย market order ที่เป็น Buy การตีความโดยการอิงราคาปัจจุบันที่วิ่งไปหา เมื่อราคาวิ่งขึ้นไปหา TP อย่างกรณีที่เปิด Long ออเดอร์ที่มาจาก TP หรือ Sell ณ ราคาที่กำหนด TP นอกจากให้ Liquidity ตลาดที่ราคานั้นแล้วยังทำให้จับคู่กับ Buy market order ที่ขึ้นไปได้ สมมุติว่าเป็น TP ที่เกิดจากขาใหญ่ที่เปิดเทรดด้านล่าง

อะไรจะเกิดขึ้น  นั่นคือจำนวน Sell order ที่มากพอที่จะหยุดราคา หรือชะลอการเคลื่อนไหวราคา แต่ในทางตรงกันข้ามเมื่อราคาวิ่งสวนลงไปหา SL ราคาวิ่งลงมาได้เพราะมีความไม่สมดุลย์เกิดขึ้นคือออเดอร์ sell มากกว่า buy เลยทำให้ราคาวิ่งไปหา buy limit order ที่ราคาล่างลงไป แต่พอราคามาถึง SL เมื่อราคาแตะถูกก็จะแปลงจาก SL มาเป็น sell market order ทันที ยิ่งเป็นตัวเพิ่มหรือเร่งความเร็วในการเคลื่อนไหวราคา ถ้าตรงพื้นที่นั้นๆ มีกองหรือ cluster ของ stop loss ก็จะกลายเป็นพื้นที่ที่ SL กลายเป็น Sell market order และ Sell market order ก็ไปแตะ SL ตัวอื่นๆ กลายเป็นโดมิโนเกิดขึ้น


จากภาพดูที่เลข 1 เป็นผลจากที่ขาใหญ่เห็นว่ามีกำหนด SL ด้านล่าง เลยดันราคามาแตะเพื่อให้ Stop loss ของ long positions ได้ทำงาน พอปิดทำกำไรจากการที่พวกเขาเปิด sell ด้านบน เท่ากับว่าพวกเขาเปิด buy ที่ตรงนั้น ที่พวกเขากำหนดด้วย TP ที่ทำให้เกิด liquidity ตรงนั้น ด้วยความที่ขาใหญ่เทรดด้วยจำนวนวอลลูมที่เยอะและมากพอที่จะดันราคาไปตามที่พวกเขาต้องการได้ก็เลยหยุดราคาได้ ที่บอกว่าเป็นการ TP ของขาใหญ่เพราะ Buy ออเดอร์พวกนี้ดันราคาขึ้นมานิดเดียว แล้วลงไปต่ออีก ถ้าเป็นออเดอร์ที่มาจากพวกเขาเข้าเทรดราคาต้องขึ้นไม่ใช่เป็นแบบนี้  ตัวอย่างที่เลข 2 ก็เป็นตรรกะแบบเดียวกันที่เกิดขึ้นที่เลข 1 แต่คนละทางเท่านั้นเอง

แต่ที่เลข 3 เป็นการที่พวกเขาใช้ความเข้าใจเรื่อง Stop loss เพื่อได้เข้าเทรดที่ราคาที่ดีกว่า พวกเทรดด้วยการเปิด long หวังว่าราคาจะขึ้นไปต่อ หลังจากที่เห็น Momentum ที่ทำให้เกิดเลข 2 ก็เข้าเทรดและกำหนด stop loss ด้วยหลักการทั่วๆ ไปคือดูพื้นที่ low ก็เท่ากับว่าเป็นการกำหนดให้ตลาดเปิด sell market order ทันทีเมื่อราคาตลาดไปแตะ เมื่อขาใหญ่เห็นตรงนี้พวกเขาก็กำหนด buy limit ไว้ด้านล่างเพื่อจะเข้าเทรดที่ราคาที่ดีกว่า แล้วสิ่งที่พวกเขาทำคือดันให้ราคาไปแตะ stop loss พวกนี้ ก็จะมีออเดอร์ที่วิ่งไปเกี่ยว buy limit orders ของพวกเขาให้สามารถเข้าตลาดได้ทันทีและได้ราคาที่ดีกว่าด้วย

ดังนั้น การเข้าใจว่าออเดอร์มีประเภทไหนบ้าง ทำงานอย่างไรบ้าง และจะมาจากไหน เป็นเรื่องจำเป็นก่อนการเปิดเทรดทุกครั้ง เพราะเมื่อเปิดเทรดแล้วต้องให้เห็นความเป็นไปได้ว่า market order ที่จะเกิดตามมาหลังจากที่ท่านเปิด เป็นทางที่ท่านเปิดเทรดเป็นหลัก ทั้งมาจากการเข้าเทรดและมาจากการออกเทรด ยิ่งมีเงื่อนไขเรื่องจำนวนหรือวอลลูมมาประกอบ ยิ่งทำให้เกิดความไม่สมดุลย์มากก็ยิ่งทำให้ราคาเคลื่อนเร็ว เกิดเป็นบาร์ยาวๆ อย่างที่เห็นกันอยู่เสมอ

 (TH)**ขอบคุณสำหรับแก่นความรู้ครับ
xc7* xc7*
ความพยายามครั้งที่ร้อย