กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

วิเคราะห์เศรษฐกิจ “ตุรกี” : อีกหนึ่งบทเรียนของความล้มเหลว

  • 0 replies
  • 2,236 views
*

INFINOX Official

วิเคราะห์เศรษฐกิจ "ตุรกี" : ถอดบทเรียนความล้มเหลว

เศรษฐกิจตุรกี : ความเสี่ยงที่ต้องพึ่งพาเงินตราต่างประเทศ

ข้อมูลจากนักวิเคราะห์ระบุว่า เศรษฐกิจตุรกี มีอัตราการเติบโตที่ค่อนข้างสูง เฉลี่ยถึงร้อยละ 6-7 มีอัตราการขยายตัวของสินเชื่ออเกือบร้อยละ 20 ในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง วงจรการกู้ยืมทำให้ธุรกิจมีเงินทุนในการขับเคลื่อน ซึ่งเป็นปัจจัยทำให้ระดับเงินเฟ้อเติบโตสูงขึ้น แต่แม้เศรษฐกิจกำลังเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง ภาคการคลังกลับค่อยๆ ทรุดตัวลง

กรณีนี้เกิดขึ้นกับประเทศเกิดใหม่ทั่วๆ หลายประเทศ การขยายตัวที่รวดเร็วเกินไปของเศรษฐกิจ ทำให้เกิดปัญหาที่ตามมาคือปริมาณเงินออมในประเทศไม่เพียงพอกับความต้องการที่จะใช้เงินลงทุน จึงจำเป็นต้องพึ่งพาเงินตราจากต่างประเทศ เรื่องนี้แสดงออกชัดเจนผ่านตัวเลขการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ซึ่งแน่นอนว่า ถ้าไม่มีเงินทุนเข้ามาชดเชยอย่างเพียงพอ ก็จะทำให้มีเงินตราต่างประเทศไหลออกไปเรื่อย


การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเรื้อรัง

ช่วงที่ผ่านมา ตุรกีขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่องปีละประมาณ 5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณร้อยละ 5.5 ของ GDP หมายความว่า ที่ผ่านมา ตุรกีพึ่งพาเงินทุนจากต่างประเทศ ทั้งในรูปการลงทุนโดยตรง การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ การระดมทุนจากตลาดพันธบัตร รวมถึงการกู้ยืมจากภาคธนาคารเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในแต่ละปี

เงินทุนจากต่างประเทศมีความสำคัญกับตุรกีในฐานะที่เป็นสิ่งที่ยังสามารถประคองสภาวะการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่เรื้อรัง อีกทั้งก็เพื่อชดเชยเงินกู้ที่กำลังจะครบกำหนด ซึ่งเป็นยอดหนี้เงินกู้กว่า 2.2 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่เงินทุนสำรองระหว่างประเทศมีเพียงประมาณแสนล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น (หรือสรุปก็คือเศรษฐกิจตุรกียังต้องการกู้เงินลงทุนมหาศาลเพื่อประคับประคองสถานการณ์อยู่)

ค่าเงิน "Lira" อาจอ่อนค่าลงได้อีก

ค่าเงิน Turkish Lira อ่อนค่าลงมาสุดตั้งแต่เดือนตุลาคมปีที่แล้ว ซึ่งเป็นผลโดยตรงจากการไหลออกของเงินตราต่างประเทศ อีกทั้งอัตราเงินเฟ้อที่แม้จะคอยๆ ลดลง แต่ก็ยังถือว่าอยู่ในระดับที่สูงมาก คือเกือบๆ 20 %

สิ่งที่น่ากังวลไปกว่านั้น คือ ความพยายามของรัฐบาลในการเข้าไปแทรกแซงราคาสินค้า ทั้งการกักตุนและขายอาหารให้กับผู้บริโภคโดยตรงเพื่อบรรเทาอัตราเงินเฟ้อที่รุนแรง และหากไม่สามารถควบคุมเสถียรภาพของเงินเฟ้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ และหากถึงขั้นต้องใช้มาตรการการขึ้นดอกเบี้ยเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ จะยิ่งสร้างความตระหนักให้กับธุรกิจที่มีหนี้สินต่างประเทศจำนวนมากๆ และนั่นอาจเป็นเหตุผลให้ค่าเงินอ่อนค่าลงไปอีกจากการไหลออกของเงินตราต่างประเทศ

ที่มา - INFINOX Market Research :