กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

การแยกแยะระหว่างอุปสงค์และอุปทาน ด้วยพฤติกรรมกราฟราคาแท่งเทียน

  • 0 replies
  • 889 views
การแยกแยะระหว่างอุปสงค์และอุปทาน ด้วยพฤติกรรมกราฟราคาแท่งเทียน
   

   เทรดเดอร์ต้องการค้นหาอุปสงค์และอุปทาน (ความต้องการซื้อกับความต้องการขาย)

ในตลาดหรือไม่ ?   ให้เทรดเดอร์เพียงแค่ดูที่หน้ากราฟราคาแท่งเทียนและสังเกตุความสูงต่ำของพฤติกรรมกราฟราคาในตลาด เทรดเดอร์จะเห็นคำสั่งซื้อและคำสั่งขายในราคาที่แตกต่างกัน ตัวเลขเหล่านั้นแสดงถึงอุปสงค์และอุปทาน

   ถ้าอยู่ในช่วงที่ตลาดมีสภาพคล่อง  มันจะมีค่าที่ คงที่ของอุปทานและอุปสงค์  เทรดเดอร์ทั่วไปยินดีที่จะซื้อและขายในราคาที่ต่างกันเสมอ อุปสงค์และอุปทานมีอยู่ทั่วไป  ไม่จำเป็นต้องค้นหาจุดของอุปสงค์หรืออุปทานใดๆ 

   แต่ถ้าเป็นช่วงที่ตลาดไม่มีสภาพคล่อง ? สิ่งที่เทรดเดอร์ต้องการค้นหาจริงๆ คือโซนราคา ที่อุปสงค์มีมากกว่าอุปทาน และ โซนราคา ที่อุปทานมีมากกว่าอุปสงค์

•   เป็นที่รู้กัน และจะเรียกกันว่าแนวต้าน  เมื่อตลาดพุ่งเข้าสู่แนวต้านราคาจะลดลง จากนั้นเทรดเดอร์จะสามารถสร้างรายได้จากตลาดด้วยการเข้าทำการเปิดคำสั่งขาย

•   ต่อมาเมื่อตลาดเข้าสู่แนวรับ  หมายถึงความต้องการซื้อ ราคาจะวิ่งสูงขึ้น ต่อมาเทรดเดอร์สามารถทำกำไรได้จากการเปิดคำสั่งขาย

   โดยสรุป คือ เทรดเดอร์ต้องค้นหาจุดเปลี่ยนของตลาดไม่ใช่แค่อุปสงค์และอุปทาน ให้เทรดเดอร์ทำตามสามขั้นตอนด้านล่างเพื่อค้นหาและแลกเปลี่ยนจุดเปลี่ยนที่ทำกำไรได้เหล่านี้
   
   1. มุ่งเน้นเป้าหมายไปที่ ระดับขั้นของราคา (โซนราคา)

   เป็นเรื่องยากที่จะวิเคราะห์ตลาดโดยไม่มีจุดโฟกัส หากเทรดเดอร์มองหาจุดเปลี่ยนในทุกระดับราคา เทรดเดอร์จะพบแต่กับความสับสน

   เทรดเดอร์จะรู้ได้อย่างไรว่า จะเน้นโฟกัสไปที่ระดับราคาใด? และระดับราคาใดที่เป็นจุดเปลี่ยนของตลาดที่มีศักยภาพ

   มีหลากหลายวิธีในการค้นหาจุดเปลี่ยนที่อาจเกิดขึ้น เทรดเดอร์สามารถใช้ การแกว่งตัวของกราฟราคา,  การหาจุดหมุนของกราฟราคา, การหาระดับของ FIBONACCI และ การหาสัญญาณของปริมาณการเข้ามาของเทรดเดอร์ในตลาด  ให้เทรดเดอร์เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการเหล่านี้และใช้ประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้ เลือกอันที่เหมาะสมกับตัวเทรดเดอร์เอง



   ตัวอย่าง – ในดูภาพตัวอย่างจากภาพด้านล่างนี้


   ให้เทรดเดอร์สังเกตุและมุ่งเน้นไปที่ การแกว่งตัวล่าสุดก่อนหน้า ของกราฟราคา โดยให้ความสนใจกับโซนราคานี้เพื่อดูว่าอุปสงค์ดีกว่าหรือไม่ ?

   2. ให้สังเกต รูปแบบกราฟราคาที่เกิดขึ้นแล้ว (ที่กำลังเกิดขึ้น)  ตำแหน่งที่สามารถเป็นไปได้ในการ เป็นแนวรับ หรือ แนวต้าน


ให้เพิ่มเติมเครื่องมือ VOLUME เพื่อวัดระดับการเข้ามาในตลาดของเทรดเดอร์

   มีสองทางเลือกสำหรับการเอาเครื่องมือ VOLUME ออกมาใช้

•   เลือกจาก PROPERTIES แล้วเลือก SHOW VOLUME

•   เลือกจาก INDICATOR แล้วเลือก VOLUME เลือก VOLUME อีกครั้ง (ตามภาพ)

   สัญญาณของความต้องการซื้อที่แข็งแกร่ง

เมื่อตลาดทดสอบราคากราฟที่บริเวณแนวรับ ให้เทรดเดอร์มองหา :

•   รูปแบบกราฟราคาแท่งเทียนขาขึ้น

•   กราฟราคาที่ไม่สามารถทะลุเส้นแนวรับลงไปได้

•   การเพิ่มขึ้นของปริมาณการเข้ามาในตลาดของเทรดเดอร์

•   ความหนาแน่น หรือความไม่เคลื่อนไหวของกราฟราคา

   สัญญาณของความต้องการขายที่แข็งแกร่ง

เมื่อตลาดทดสอบราคากราฟที่บริเวณแนวต้าน  ให้เทรดเดอร์มองหา :

•   รูปแบบกราฟราคาแท่งเทียนขาลง

•   กราฟราคาที่ไม่สามารถทะลุเส้นแนวต้านขึ้นไปได้

•   การเพิ่มขึ้นของปริมาณการเข้ามาในตลาดของเทรดเดอร์

•   ความหนาแน่น หรือความไม่เคลื่อนไหวของกราฟราคา

   ให้เทรดเดอร์มองหาสัญญาณการเคลื่อนไหวของกราฟราคาในอดีตและการเคลื่อนไหวของราคาแบบเรียลไทม์ ยิ่งเทรดเดอร์มองเห็นสัญญาณมากเท่าไหร่ก็ยิ่งมีโอกาสมากขึ้นที่ เทรดเดอร์จะพบแนวรับ / แนวต้านที่แท้จริง



•   ปริมาณการเข้ามาของจำนวนเทรดเดอร์เพิ่มขึ้นเมื่อตลาดพุ่งเข้าสู่โซนราคา มันเป็นการแสดงให้เห็นว่ามีอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น

•   รูปแบบกราฟราคาขาขึ้นจากตลาด ถือเป็นการทดสอบโซนราคาอุปสงค์

   จากภาพตัวอย่าง สัญญาณเหล่านี้เป็นเครื่องยืนยันว่า อุปสงค์น่าจะมีมากกว่าอุปทาน โดยสังเกตุจากในเขตราคาบริเวณ แนวรับ

   3. ควบคุมความเสี่ยงในการเข้าเทรด

   เมื่อเทรดเดอร์พบระดับแนวรับหรือแนวต้านที่เป็นไปได้แล้ว (หรือ พบระดับอุปสงค์ อุปทาน)ให้เทรดเดอร์จำว่า มันคือ "ศักยภาพ" มันคือเป็นแนวโน้ม แต่ มันไม่รับประกันว่าจะไปต่อตามที่เทรดเดอร์คิดหรือไม่

   ดังนั้น ตัวเทรดเดอร์ควรจะจำกัดความเสี่ยงของตัวเองไว้ เมื่อเทรดเดอร์เข้าทำการซื้อขายที่ ช่วงของโซนราคาอุปสงค์และอุปทาน โดยมีวิธีการซื้อขายสองวิธี

   วิธีแรก – การยืนยันของอุปสงค์ (ความต้องการซื้อ) - DEMAND CONFIRMATION

   ปล่อยให้กราฟราคาแสดงเส้นทางการดำเนินไป แล้วมองหารูปแบบกราฟราคา จากนั้นใช้คำสั่งซื้อล่วงหน้าเพื่อเข้าสู่ตลาด เมื่อตลาดยืนยันไปตามความคิดเห็นของตัวเทรดเดอร์เอง

   ถึงแม้ว่าเทรดเดอร์จะเข้าสู่ตลาดได้ช้า แต่เปรียบเหมือนตัวเทรดเดอร์เองจะช่วยตัวเองให้รอดพ้นจากการซื้อขายที่ไม่ดีนักได้ การเข้าสู่การซื้อขายในตำแหน่งที่ไม่ดีเป็นข้อเสียเปรียบมากของกลยุทธ์นี้  ดังนั้นให้ใช้กลยุทธ์นี้เฉพาะเมื่อเทรดเดอร์คาดหวังผลกำไรที่มีนัยสำคัญ เพื่อหลีกเลี่ยงมิให้เกิดอัตราส่วน ของความเสี่ยงต่อการกำไรที่มากเกินไป

   วิธีที่สอง – เข้าทำการซื้อขายแบบรวดเร็ว

   ให้เทรดเดอร์เข้าทำการซื้อขายก่อนเลย (โดยไม่มีการยืนยัน) พร้อมเตรียมหยุดการขาดทุนอย่างเข้มงวดและมีเป้าหมายในการทำกำไรที่ชัดเจน ในกรณีนี้ให้ใช้คำสั่งซื้อขายล่วงหน้าที่ไว้ที่ โซนราคาของแนวรับและแนวต้าน







Credit : พี่เจี๊ยบ
สามารถล็อคอินแล้วโหลดไฟล์ pdf ไปเก็บไว้ได้เลยนะครับ