กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ตอนที่ 3 (กองทุนรวม)

  • 0 replies
  • 2,041 views
Mutual Fund (กองทุนรวม) – เป็นการระดมเงินลงทุนจากบุคคลทั่วไปซึ่งได้จำนวนที่มากพอ และนำไปจดทะเบียนเพื่อตั้งเป็น "กองทุน" ในฐานะเป็นนิติบุคคล โดยเงินที่รวบรวมมานั้นจะต้องมี "ผู้จัดการกองทุน" ที่เป็นมืออาชีพที่จะสามารถนำเงินไปลงทุนในตลาดการเงิน ลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ตามนโยบายของกองทุนนั้นๆ เพื่อให้ได้รับผลตอบแทน ที่จำนำมาเฉลี่ยคืนให้กับ "ผู้ลงทุน" ตามสัดส่วนการลงทุนของแต่ละราย
กองทุนรวม มีการแบ่งและกระจายความเสี่ยง โดยนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์หลายรูปแบบ ตั้งแต่ความเสี่ยงต่ำ จนถึงความเสี่ยงสูง ดังนี้
•   กองทุนรวมที่มี "ความเสี่ยงต่ำ" คือ กองทุนรวมตราสารหนี้ และ กองทุนรวมตลาดเงิน กองทุนรวมเห่านี้จะนำเงินไปลงทุนใน "เงินฝากและตราสารหนี้" ได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล, พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ, ตั๋วเงินคลัง, บัตรเงินฝากของธนาคาร, ตั๋วสัญญาใช้เงิน, ตั๋วแลกเงิน และหุ้นกู้เอกชน
•   กองทุนรวมที่มี "ความเสี่ยงปานกลาง" คือ กองทุนรวมผสมยืดหยุ่น และกองทุนรวมผสม กองทุนรวมเหล่านี้จะนำเงินแบ่งลงทุนทั้งใน "ตราสารหนี้และตราสารทุน" โดยกองทุนรวมผสมมีสัดส่วนการลงทุนในตราสารทุน (หุ้น)ไม่เกิน 65% เพื่อลดความเสี่ยงในการลงทุน แต่กองทุนรวมผสมยืดหยุ่นไม่จำกัดสัดส่วนการลงทุนในตราสารทุน ขึ้นอยู่กับนโยบายของกองทุนนั้นๆ
•   กองทุนรวม "ความเสี่ยงสูง" คือ กองทุนรวมทางเลือก (Alternative Investments), กองทุนรวมกลุ่มธุรกิจ และกองทุนรวมตราสารทุน กองทุนเหล่านี้จะนำเงินไปลงทุนในตราสารทุน(หุ้น) ประเภทต่างๆ เช่น หุ้น, สามัญ, หุ้นบุริมสิทธิ, ใบสำคัญแสดงสิทธิ ฯลฯ กองทุนกลุ่มธุรกิจจะเน้นการลงทุนในหุ้นของบริษัทที่มีธุรกิจหลักประเภทเดียว ซึ่งเฉลี่ยแล้วไม่ต่ำกว่า 65% และ กองทุนรวมทางเลือกจะลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ นอกเหนือจากหุ้น เช่น ตราสารอนุพันธ์ (ฟิวเจอร์ และออปชั่น) เพื่อผลตอบแทนที่สูงขึ้น


เลือกกองทุนจากวิธีการบริหารกองทุน สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ Active Fund และ Passive Fund ซึ่งมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน
•   กองทุน Active มีรูปแบบการจัดการที่ "ผู้จัดการกองทุน" ต้องพยายามลงทุน หากลยุทธ์ทุกอย่างเพื่อให้กองทุนได้ผลตอบแทนสูงกว่า ค่ามาตรฐาน (Benchmark) และพยายามที่จะกำไรให้มากที่สุด ผู้จัดการกองทุนต้องเลือกสินทรัพย์และแบ่งสัดส่วนที่เหมาะสม คาดการณ์ช่วงเวลาซื้อขายที่เหมาะสม ดังนั้นกองทุน Active ผู้จัดการกองทุนเป็นตัวแปรที่สำคัญมากที่จะทำให้กองทุนกำไรหรือขาดทุน มักจะมีค่าบริหารกองทุนสูง
•   กองทุน Passive จะเน้นลงทุนโดยอ้างอิงกับดัชนีอ้างอิง (การเปลี่ยนแปลงของราคาของสินทรัพย์ มาทำสถิติ) เช่น SET index คือการเปลี่ยนแปลงของตลาดหุ้นไทยในแต่ละวัน มีกองทุน SET50, SET100 ฯลฯ กองทุน Passive มักมีค่าธรรมเนียมถูก เพราะผู้จัดการกองทุนใช้เวลาไม่มากในการดูแลกองทุน ลงทุนด้วยสัดส่วนเดียวกับดัชนีอ้างอิง และสามารถคาดการณ์กำไรได้จากดัชนีอ้างอิง กำไรได้ค่อนข้างแม่นยำกว่า และกองทุน Passive บางกองสามารถกำไรมากกว่า กองทุน Active บางกองอีก
โดย นิรมล นิตย์นิธิพฤทธิ์
นักวิเคราะห์การเงิน, Olymp Trade
Olymp Trade