กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ตอนที่ 2 (พันธบัตร)

  • 0 replies
  • 1,581 views
   การออมเงินที่ให้ผลตอบแทนมากกว่าบัญชีออมทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ซึ่งได้รับความนิยมมากจากบุคคลทั่วไป เพราะมีความอุ่นใจว่ามีรัฐบาลเป็นแบคอัพอยู่ จึงความเสี่ยงต่ำและผลตอบแทนก็มากกว่าดอกเบี้ยเงินฝากที่ตอนนี้อยู่แค่ 1.5% ผลิตภัณฑ์นี้คือ "พันธบัตรรัฐบาล"
   พันธบัตรรัฐบาล อยู่ในกลุ่มของ "ตราสารหนี้" โดยผู้ซื้อพันธบัตร คือ "เจ้าหนี้" และผู้ออกตราสาร คือ "ลูกหนี้"  พันธบัตรรัฐบาลจะออกโดยหน่วยงานของรัฐบาล ได้แก่ กระทรวงการคลัง, ธนาคารแห่งประเทศไทย, รัฐวิสาหกิจ และกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
พันธบัตรรัฐบาล แบ่งได้หลายประเภท ซึ่งอาจแบ่งตามลักษณะ ดังนี้
1.   แบ่งตามอายุ ได้แก่ พันธบัตรระยะสั้น – กลาง – ยาว
2.   แบ่งตามการจ่ายดอกเบี้ย เช่น ดอกเบี้ยในอัตราคงที่, ดอกเบี้ยในอัตราลอยตัว, ดอกเบี้ยทบต้น หรือไม่จ่ายดอกเบี้ย เป็นต้น
3.   แบ่งตามการออกใบตราสาร ได้แก่
-   มีใบตราสาร (Scrip)  มีการออกใบตราสารซึ่งระบุชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ไว้ให้ครอบครอง
-   ไม่มีใบตราสาร (Scripless)  บันทึกกรรมสิทธิ์ไว้ในบัญชีของศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แต่ไม่มีการออกใบตราสาร
การซื้อพันธบัตร เป็นการลงทุนทางการเงินวิธีหนึ่ง ซึ่งมีความเสี่ยงต่ำแต่อาจใช้เวลานานระดับหนึ่ง เพราะเงินวางลงทุนจะวางไว้เลย ไม่สามารถถอนออกก่อนเวลาที่กำหนดได้ ปัจจุบันพันธบัตรของรัฐบาลไทยมีตั้งแต่ระยะเวลาตั้งแต่ 3 – 10 ปี ยิ่งระยะเวลานาน อัตราผลตอบแทนที่ได้ก็ยิ่งสูง เช่น 3 ปี ได้อัตราดอกเบี้ย 1.85% – 2.00%, 5 ปี ได้อัตราดอกเบี้ย 2.05% – 2.35%, 7 ปี ได้อัตราดอกเบี้ย 2.45% – 2.56% และ 10 ปี ได้อัตราดอกเบี้ย 3.00% – 3.50%

จะหาซื้อพันธบัตรรัฐบาลได้ที่ไหน?
หลังจากที่หน่วยงานรัฐออกพันธบัตรรัฐบาลแล้ว ธนาคารพานิชย์และสถาบันการเงินจะนำมาจัดจำหน่ายให้กับบุคคลทั่วไป จึงแนะนำให้หาซื้อผ่านธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินที่มีใบอนุญาติค้าหลักทรัพย์ เช่น ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารไทยพาณิชย์ ฯลฯ และ บริษัทหลักทรัพย์ เมอร์ริล ลินซ์ ภัทร ฯลฯ
หมายเหตุ: ผู้ลงทุนที่ซื้อพันธบัตรรัฐบาล จะต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย 15% ของดอกเบี้ยที่ได้รับในแต่ละงวด ทั้งบุคคลธรรมดาที่อยู่ในประเทศไทย และบุคคลธรรมดาที่ไม่ได้อยู่ในประเทศไทย
โดย นิรมล นิตย์นิธิพฤทธิ์
นักวิเคราะห์การเงิน, Olymp Trade
Olymp Trade