กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

การใช้ Fibonacci Fan และ Fibonacci Expansion

  • 0 replies
  • 4,570 views
การใช้ Fibonacci Fan และ Fibonacci Expansion
« เมื่อ: 30, กรกฎาคม 2021, 08:27:43 PM »
การใช้ Fibonacci Fan และ Fibonacci Expansion

ทูลที่อยู่ในกลุ่มของ Fibonacci มี 5 ทูลหลักด้วยดันคือ Fibonacci Retracement, Fibonacci Time Zone, Fibonacci Fan, Fibonacci Arcs และ Fibonacci Expansion ที่ได้รับความนิยมและใช้งานมากในการเทรดการย่อตัวเป็นหลัก และการที่ราคาเบรคแล้วน่าจะไปต่อระดับไหน ส่วนมากเมื่อกล่าวถึง Fibonacci จะกล่าวถึง Fibonacci Retracement เป็นหลัก Fibonacci ได้รับความนิยมในการหาแนวรับ-แนวต้าน, หาจุดสำหรับเข้าเทรดและออกเทรด, หาจุดที่น่าจะเกิดการเปลี่ยนเทรน หรือหาจดุที่น่าจะเป็นจุดกำหนด Take profit หรือแม้แต่ลักษณะการย่อตัวที่วัดจาก Retracements ของ หลักการ Fibonacci ยังช่วยบอกถึงความแข็งของเทรนด้วย [บทความนี้ เน้นอธิบายการใช้งาน Fibonacci Fan และ Extension]

การใช้งาน Fibonacci Fan


ก่อนอื่นต้องกล่าว Fibonacci Retracement เบื้องต้นก่อน เพราะว่า Fibonacci Fan  อีกส่วนที่อาศัยข้อมูลพื้นฐานแบบเดียวกันคือ Fibonacci  เป็นทูลที่ท่านต้องกำหนดจุด High และ จุด Low เข้าเป็นเบื้องต้นก่อน แล้วค่อยสร้างระดับย่อตัวหรือ Retracement ตามตัวเลข  ตัวเลขที่นิยมกัน 23.6, 38.2, 50.0, 61.8, 78.6, 88.6 สำหรับการย่อตัว เช่น Fibonacci Retracement ท่านจำเป็นต้องกำหนดจุด High และ Low ก่อน สำหรับโปรแกรม Metatrader ได้ให้ทูลสำหรับสร้างพวกนี้ แต่ท่านต้องกำหนด High และ Low ก่อน หรือท่านต้องกำหนด Impulsive move เป็นนั่นเอง ส่วนค่า Retracements ก็จะมีค่า defaults ตามสัดส่วนตัวเลขที่นิยมของหลักการเทรดแบบ Fibonacci สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามต้องการ

ให้ดูเปรียบเทียบกันระหว่าง Fibonacci Retracement และ Fibonacci Fan ก่อน สิ่งแรกที่จำเป็นสำหรับการกำหนดคือท่านต้องกำหนดหรือหาจุดที่เป็นจุด High และ Low ที่เป็น Impulsive move เพื่อที่จะนำมากำหนดสำหรับ Fibonacci Retracement และ Fan  สำหรับ Retracement ก็จะหาค่าจุด Retracement ตามตัวเลข Fibo numbers ที่กำหนดจากค่า High และ Low และแสดงผลเป็นเส้นแนวนอน (Horizontal line) ส่วน Fan ลากเส้นจากจุดเริ่มต้น ในที่นี้คือจุด Low สำหรับกรณีเทรนขึ้นคือลากจาก Low ไปที่ High แล้วแสดงผลเป็นเส้น Trendline ตามสัดส่วนของตัวเลขสำหรับ Fibo numbers หลักการเดียวกัน เทรดเดอร์ก็จะมองเส้นเทรนไลน์ที่มาจาก Fibonacci Fan เป็น แนวรับ-แนวต้านแบบเทรนไลน์ ก็คาดว่าราคาจะเด้งกลับ เมื่อราคาจบขั้นตอน Retracement หรือเบรค เช่นเดียวกับการเทรดเทรนไลน์ทั่วไป  การเทรดส่วนมากก็จะเทรดตามเทรน ก็จะเทรดราคาเด้งออก เมื่อจบการย่อตัวกลับมาเทส

การใช้งาน Fibonacci Extension


Fibonacci Extension เป็นทูลที่เทรดเดอร์ใช้เพื่อกำหนด take profit ว่าจะกำหนดตรงไหน หรือเมื่อเปิดเทรดแล้วหลังจากที่ราคาได้ทำการ Retracement หรือ Pullback ในการเทรดแบบอ้างอิง Fibonacci Retracement เป็นต้น ว่าราคาน่าจะวิ่งไปขนาดไหน เพื่อหาพื้นที่ออก หรือหาจุดเทรนเปลี่ยน เพราะว่าจุดหรือพื้นที่ๆ มาจากการหาค่า Fibonacci Extension เป็นพื้นที่ๆ ราคาอาจเปลี่ยนเทรนได้ หลักการเดียวกันเช่นกับ Fibonacci Retracement คือท่านต้องหาพื้นที่ High และ Low เพื่อกำหนด Impulsive move ให้ได้ก่อน

ดูภาพทางซ้ายมือที่บอก Impulsive move สิ่งที่บอกลักษณะของ Impulsive move คือราคาได้เบรคพื้นที่ตรงข้าม ด้วย Momentum แล้วสามารถทำ New high หรือ New low ได้ อย่างเช่นตามภาพประกอบ ราคาทำ New Low ได้ ดูลักษณะการเบรคด้วยแท่งเทียนยาว ทางเดียวกัน 2 แท่งแรก มีส่วน Body ยาวบอกถึง Momentum  นี่คือความสำคัญของ Impulsive move ที่เป็นส่วนสำคัญของจุด High และ Low ที่นำมาใช้กับหลักการ Fibonacci ภาพด้านซ้ายเทรดเดอร์ที่เทรดด้วย Fibonacci Retracement ก็จะลากจาก High ลงมาล่าง ก็จะได้ภาพ Fibonacci Retracement กับค่า Retracement

ดูภาพทางขวามือที่เป็นการใช้ Fibonacci Extension จากจุดเดียวกันในการกำหนด Impulsive move เพื่อนำมาประกอบการใช้ Fibonacci Retracement เพื่อกำหนดจุดเข้าเทรดและ Fibonacci Extension เพื่อกำหนดจุด take profit หรือออกจากตลาด การกำหนด Fibonacci Extension ประกอบด้วย 3 จุดด้วยกันคือ จุดแรก กำหนดที่จุดเริ่มต้น Impulsive move  จุดที่ 2 กำหนดที่จุดจบ Impulsive move และจุดที่ 3 กำหนดที่จุดจบ Retracement แล้วทูล Fibonacci Extension ก็จะตีเส้นระดับให้ตามค่า Fibo levels ที่กำหนด ที่นิยมสำหรับ Fibonacci Extensions ก็มี 61.8, 100.0, 138.2, 161.8 และ 200.0 โดยเป็นการเทียบจาก Impulsive move เริ่มที่จุดเข้าเทรดตรง Retracement


อีกตัวอย่างเป็นการใช้ Fibonacci Extension สำหรับ Impulsive move ขึ้น หลังจากราคาลงมาทำ Low ชัดเจนที่พื้นที่เลข 1 แม้มี Low ต่ำกว่า แต่ราคาเด้งกลับมาอย่างรวดเร็ว  และกลับมาทดสอบ แล้วเบรคแนวต้านด้านบน 2 ระดับขึ้นไป ทำ New High ได้ที่เลข 2 ทำให้เรามั่นใจว่า Low ที่ต่ำกว่าเลข 1 เป็น Stop hunt เพื่อเข้าเทรดของขาใหญ่ ยิ่งจบด้วย Impulsive move ยิ่งข้อมูลเปิดเผยมากขึ้น เลยทำให้เรากำหนดจุด Low ที่เลข 1 ขึ้นมาจุด High ที่เลข 2 เป็น Impulsive move  ในภาพประกอบนี้ ไม่ได้ใช้ Fibonacci Retracement เพื่อกำหนดจุดเข้าเทรด แต่ถ้าเทรดเดอร์ที่ให้หลักการเทรดด้วย Fibonacci Retracement ก็จะกำหนดจุด Retracement เพื่อหาจุดเข้าเทรดที่ตรง Impulsive move ตามที่อธิบายไว้ด้านบน ก็จะได้จุดเข้าเทรดตรงที่เลข 3 ที่จบ Retracement พอดี พอราคาจบตรงนี้ เราก็สามารถกำหนด Fibonacci Extension ได้ตามข้อกำหนดคือ ข้อ 1 กำหนดจุดเริ่มต้นของ Impulsive move ข้อ 2 กำหนดจุดจบของ Impulsive move และข้อ 3 กำหนดจุดจบ Retracement แล้วทูลก็จะวาดระดับ Extension เพื่อเป็นเป้าในการปิดทำกำไร หรือออกจากตลาดให้เราว่าน่าจะปิดตรงไหน

จากที่อธิบายมาหลักการใช้ Fibonacci Fan และ Extensions ถือว่าเป็นทูลใช้ในเชิง Technical analysis และตีความง่ายด้วย ตามตัวเลข Fibonacci ที่นิยมกันมาใช้ในการกำหนด และการใช้งาน จุดที่ยากสำหรับ Fibonacci Retracement, Fibonacci Fan และ Fibonacci Extensions คือต้องเข้าใจและกำหนด Impulsive move ให้เป็น นี่เป็นส่วนสำคัญ