Search

ราคาทองคำวันนี้ ตามประกาศสมาคมค้าทองคำ

ประจำวันที่ 00 x.x. 00
ครั้งที่ 0

ราคาทองคำแท่ง 96.5%

ราคาเปิด ราคาล่าสุด เปลี่ยนแปลง
00,000 00,000
0
(0)
หน่วย THB บาท อัปเดตล่าสุด 00 x.x. 00 เวลา 00:00 น.

ทองรูปพรรณ 96.5%

ราคาเปิด ราคาล่าสุด เปลี่ยนแปลง
00,000 00,000
0
(0)
หน่วย THB บาท อัปเดตล่าสุด 00 x.x. 00 เวลา 00:00 น.
ดูราคาทองเพิ่มเติม

สิ่งที่คุณอาจสนใจ

กองทุนทองคำ ปริมาณการถือครองทองคำ SPDR ล่าสุด

ประจำวันที่ 18 เม.ย. 2567

ถือครองก่อนหน้า Previous Holding (ton)

830.18

ถือครองล่าสุด Last Holding (ton)

827.59

ทองคำตลาดโลก Gold Spot

2,360.60

เปลี่ยนแปลง Changes

-2.59
วันนี้ -2.59
ดูราคาทองเพิ่มเติม

โบรกเกอร์ที่แนะนำ

Recommend Broker

เศรษฐกิจสหรัฐฯ เริ่มต้นไตรมาสที่สองด้วยความแข็งแกร่ง อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นชะลอตัวลง

เศรษฐกิจสหรัฐฯ เริ่มต้นไตรมาสที่สองด้วยความแข็งแกร่ง อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นชะลอตัวลง

การใช้จ่ายของผู้บริโภคในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเกินคาดในเดือนเมษายน เนื่องจากภาคครัวเรือนได้กระตุ้นการซื้อสินค้าและบริการ และอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นก็ชะลอตัวลง ซึ่งอาจหนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่สองท่ามกลางความกังวลว่าจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย

แนวโน้มเศรษฐกิจในระยะสั้นมีความสดใสขึ้นด้วยข้อมูลอื่นๆ จากกระทรวงพาณิชย์เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการขาดดุลการค้าลดลงอย่างมากเมื่อเดือนที่แล้ว แม้การขาดดุลการค้ามรีะดับสูงเป็นประวัติการณ์ทำให้ผลผลิตหดตัวในไตรมาสแรก

การใช้จ่ายของผู้บริโภคซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าสองในสามของกิจกรรมทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 0.9% ในเดือนที่ผ่านมา ข้อมูลในเดือนมีนาคมได้รับการแก้ไขให้สูงขึ้นเพื่อแสดงรายจ่าย 1.4% แทนที่จะเป็น 1.1% ตามที่รายงานก่อนหน้านี้ การใช้จ่ายยังอยู่ในระดับแข็งแกร่งคือแม้ว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจะอยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2011

การใช้จ่ายด้านสินค้าเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง 0.8% โดยได้แรงหนุนจากการซื้อยานยนต์ใหม่ เสื้อผ้า รองเท้า สินค้าสันทนาการ ตลอดจนเครื่องตกแต่งและอุปกรณ์ในครัวเรือน ความต้องการสินค้ายังคงแข็งแกร่งแม้การใช้จ่ายด้านบริการจะเพิ่มขึ้น

การใช้จ่ายด้านบริการเพิ่มขึ้น 0.9% เนื่องจากผู้บริโภครับประทานอาหารนอกบ้านและเดินทางบ่อยขึ้น นอกจากนี้ยังมีการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในด้านที่อยู่อาศัยและสาธารณูปโภค และบริการนันทนาการ

ก่อนหน้านี้นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าการใช้จ่ายของผู้บริโภคจะเพิ่มขึ้น 0.7% โดยการใช้จ่ายได้รับการสนับสนุนจากเงินออมจำนวนมากรวมถึงค่าจ้างที่มีการปรับเพิ่มขึ้นแข็งแกร่ง โดยบริษัทต่าง ๆ ต่างพยายามหาคนงานเพื่อมเติมในตำแหน่งงานใหม่ที่ระดับสูงเป็นประวัติการณ์ถึง 11.5 ล้านตำแหน่ง ณ สิ้นเดือนมีนาคม

รายได้ส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น 0.4% โดยค่าจ้างคิดเป็นสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น อัตราการออมลดลงมาอยู่ที่ 4.4% ซึ่งต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนกันยายน 2008 จาก 5.0% ในเดือนมีนาคม นั่นแสดงให้เห็นว่าครัวเรือนมีเงินออมมากกว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์สะสมในช่วงการระบาดของไวรัสโคโรนา

ปริมาณการออมที่ลดลงอาจหมายถึงการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่อาจช้าลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้นทุนการกู้ยืมสูงขึ้น

ท่าทีของนโยบายการเงินที่เข้มงวดของเฟด ในขณะที่กำลังต่อสู้เพื่อระงับอัตราเงินเฟ้อที่สูงและทำให้ลดลงสู่ระดับเป้าหมายที่ 2% ได้สร้างความกังวลเกี่ยวกับภาวะถดถอย ความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจตกต่ำยังรุนแรงขึ้นจากสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน รวมถึงนโยบายปลอดโควิดของจีน ซึ่งทำให้ห่วงโซ่อุปทานติดชะงักมากขึ้น

ธนาคารกลางสหรัฐฯได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายรวมเป็น 75 จุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม และเฟดคาดว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยข้ามคืนครึ่งเปอร์เซ็นต์ในการประชุมครั้งต่อไปในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม

การใช้จ่ายของผู้บริโภคที่แข็งแกร่งช่วยบรรเทาความกังวลในการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง เช่น หุ้น หลังจากการเทขายออกอย่างรวดเร็วเมื่อเร็วๆ นี้ หุ้นใน Wall Street ปิดตัวสูงขึ้น เงินดอลลาร์ทรงตัวเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงิน อัตราผลตอบแทนในพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ผันผวน

แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในเดือนเมษายน แต่ก็ไม่ได้มีขนาดมากเท่าในเดือนก่อน ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เพิ่มขึ้น 0.2% ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นน้อยที่สุดในเดือนพฤศจิกายน 2020 หลังจากพุ่งขึ้น 0.9% ในเดือนมีนาคม

ในช่วง 12 เดือนจนถึงเดือนเมษายน ดัชนีราคา PCE พุ่งขึ้น 6.3% หลังจากพุ่งขึ้น 6.6% ในเดือนมีนาคม

หากไม่รวมส่วนประกอบด้านอาหารและพลังงานที่ผันผวน ดัชนีราคา PCE เพิ่มขึ้น 0.3% ซึ่งเพิ่มขึ้นจากส่วนต่างเดียวกันเป็นเวลาสามเดือนติดต่อกัน ดัชนีราคา PCE หลักเพิ่มขึ้น 4.9% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนเมษายน ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นที่น้อยที่สุดนับตั้งแต่เดือนธันวาคมของปีที่ผ่านมา หลังจากเพิ่มขึ้น 5.2% ในเดือนมีนาคม

โดยนับเป็นเดือนที่สองติดต่อกันที่อัตราการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคา PCE หลักประจำปีชะลอตัวลง โดยมาตรการเงินเฟ้อนี้เป็นตัวเลขทางเศรษฐกิจที่นักเศรษฐศาสตร์และนักกำหนดนโยบายให้ความสำคัญมากที่สุด

เงินเฟ้อที่ลดลงส่งผลดีต่อการเติบโตของ GDP ในไตรมาสนี้ เมื่อปรับอัตราเงินเฟ้อการใช้จ่ายของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น 0.7% ในเดือนเมษายนหลังจากเพิ่มขึ้น 0.5% ในเดือนก่อนหน้า

ทั้งนี้รายงานจากกระทรวงพาณิชย์ยังระบุว่าการขาดดุลการค้าลดลง 15.9% สู่ระดับ 105.9 พันล้านดอลลาร์ในเดือนเมษายน โดยการลดลงสะท้อนถึงการนำเข้าที่ลดลง 5.0%

แม้ว่าการนำเข้าที่อ่อนแอจะส่งผลดีต่อตัวเลข GDP อันดับต้น ๆ แต่อาจส่งผลให้การใช้จ่ายของผู้บริโภคและการลงทุนทางธุรกิจที่ชะลอตัวลง การนำเข้าทั้งทุนและสินค้าอุปโภคบริโภคลดลงขณะที่การนำเข้ารถยนต์เพิ่มขึ้น การส่งออกสินค้าขยายตัว 3.1% โดยได้แรงหนุนจากการจัดส่งผลิตภัณฑ์อาหาร

ปริมาณสินค้าคงคลังส่งเพิ่มขึ้น 2.1% ในเดือนที่ผ่านมา ขณะที่สินค้าคงคัลงของผู้ค้าปลีกเพิ่มขึ้น 0.7% ตามข้อมูลในวันศุกร์ที่ผ่านมา Goldman Sachs ได้เพิ่มประมาณการการเติบโตของ GDP ในไตรมาสที่สองขึ้นสองในสิบของจุดเปอร์เซ็นต์เป็น 2.8% ต่อปี

เศรษฐกิจหดตัวในอัตรา 1.5% ในไตรมาสก่อนหน้าเนื่องจากขาดดุลการค้าจำนวนมากและการสะสมสินค้าคงคลังช้าลงเมื่อเทียบกับอัตราที่แข็งแกร่งของไตรมาสที่สี่

 

Reference:

https://www.reuters.com/markets/us/us-consumer-spending-beats-expectations-april-inflation-likely-peaked-2022-05-27/

 

Relate Post