Search

ราคาทองคำวันนี้ ตามประกาศสมาคมค้าทองคำ

ประจำวันที่ 00 x.x. 00
ครั้งที่ 0

ราคาทองคำแท่ง 96.5%

ราคาเปิดราคาล่าสุดเปลี่ยนแปลง
00,00000,000
0
(0)
หน่วย THB บาทอัปเดตล่าสุด 00 x.x. 00 เวลา 00:00 น.

ทองรูปพรรณ 96.5%

ราคาเปิดราคาล่าสุดเปลี่ยนแปลง
00,00000,000
0
(0)
หน่วย THB บาทอัปเดตล่าสุด 00 x.x. 00 เวลา 00:00 น.
ดูราคาทองเพิ่มเติม

สิ่งที่คุณอาจสนใจ

[widget_lastupdate_spdr]

โบรกเกอร์ที่แนะนำ

Recommend Broker

เหตุใดสหภาพยุโรปจึงต้องพึ่งพาแก๊สธรรมชาติจากรัสเซียเป็นอย่างมาก

ประชาชนชาวยุโรปต่างต้องระทมทุกข์กับราคาพลังงานที่ดีดตัวขึ้น หลังการเปิดฉากโจมตีใส่ยูเครนของรัสเซียเมื่อวานนี้ จนส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบเบรนท์พุ่งขึ้นทะลุเกินกว่า $100 ต่อบาร์เรลเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2014

ในขณะเดียวกันราคาแก๊สธรรมชาติก็ขยับขึ้นถึง 6.5% หลังการบุกของรัสเซีย โดยเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาเยอรมนีได้ระงับโครงการท่อส่งแก๊ส Nord Stream 2 ในเขตทะเลบอลติก ด้วยความตั้งใจที่จะเพิ่มอัตราการไหลของแก๊สจากรัสเซียที่ส่งตรงมายังเยอรมนี

หากย้อนกลับไปในช่วงยุคปี 1960 และ 1970 ยุโรปเคยมีการจัดหาแก๊สอยู่ในปริมาณที่เท่าเทียมกับที่พวกเขาใช้งานอยู่ จนกระทั่งการผลิตของยุโรปลดลงเนื่องจากแหล่งแก๊สในทะเลเหนือซึ่งส่วนใหญ่มีฐานการผลิตมาจาก UK และเนเธอร์แลนด์เริ่มหมดไป

ก่อนที่ต่อมาเนเธอร์แลนด์จะออกมาประกาศแผนการที่จะปิดแหล่งแก๊สในเมืองโกรนิงเกน หลังจากเริ่มประสบปัญหาแผ่นดินไหวมาตั้งแต่ปี 1991 โดยล่าสุดมีการคาดหมายกันว่าแหล่งแก๊สแห่งนี้จะถูกปิดอย่างสมบูรณ์ในช่วงระหว่างปี 2025 ถึง 2028

ภายในช่วงเวลาเดียวกัน EU ก็ได้ลดการพึ่งพาพลังงานจากถ่านหินเพื่อบรรลุเป้าหมายการควบคุมการปล่อยก๊าซคาร์บอนให้เป็นศูนย์ภายในปี 2050 และลดการปล่อยมลพิษลงอย่างน้อย 55% ภายในปี 2030 ซึ่งจนถึงขณะนี้ 20% ของไฟฟ้าที่ถูกผลิตใน EU มาจากการใช้ถ่านหิน

นอกจากนี้เยอรมนียังปฏิเสธการลงทุนในพลังงานนิวเคลียร์ตามข้อกฎหมาย Atomic Energy Act ในปี 2011 ซึ่งเป็นการตัดสินใจที่มีผลมาจากเหตุการณ์ภัยพิบัตินิวเคลียร์ที่ฟุกุชิมะในปี 2011 จนทำให้พลังงานในยุโรปปัจจุบันมาจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เพียง 13%

จากข้อมูลอย่างเป็นทางการของ EU ระบุว่า 25% ของการบริโภคพลังงานในภูมิภาคมาจากแก๊สธรรมชาติ ในขณะที่น้ำมันและปิโตรเลียมคิดเป็นสัดส่วน 32%, พลังงานหมุนเวียนและเชื้อเพลิงชีวภาพ 18% โดยมีเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นส่วนที่เหลือ 11%

การพึ่งพาแก๊สก็เปรียบเสมือนการพึ่งพารัสเซีย จากที่ปัจจุบัน EU มีฐานะเป็นผู้นำเข้าแก๊สรายใหญ่สุดของโลก ด้วยสัดส่วนของการนำเข้าแก๊สหลัก ๆ ที่มาจากรัสเซีย 41%, นอรเวย์ 24% และแอลจีเรีย 11% โดยที่ราคาแก๊สจากรัสเซียจะมีอัตราถูกที่สุด

แม้ EU ต้องอาศัยพึ่งพาแก๊สจากรัสเซียอยู่เป็นส่วนใหญ่ แต่พวกเขาก็มีเป้าหมายสำคัญในการผลิตพลังงานจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนของตนเอง เพียงแต่ผลผลิตที่ออกมายังไม่เพียงต่อการยกเลิกการพึ่งพาพลังงานจากต่างแดน

สาเหตุส่วนหนึ่งเป็นเพราะโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานของ EU ยังไม่สามารถรองรับความไม่ต่อเนื่องของพลังงานหมุนเวียน โดยยังเป็นเรื่องยากที่จะกักเก็บพลังงานในบางช่วงเวลาอย่างตอนที่ไม่มีแสงแดดส่องหรือไม่มีกำลังลมพัดผ่าน

แม้จะมีการพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ เช่น แบตเตอรี่อเนกประสงค์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและไฮโดรเจนสีเขียว ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงทางเลือกที่เกิดจากการนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ในกระบวนการผลิตก๊าซไฮโดรเจน แต่การพัฒนาเหล่านี้ก็ยังไม่ได้ขยายตัวออกไปเป็นสเกลใหญ่

ในบางกรณีพลังงานหมุนเวียนที่ถูกผลิตขึ้นใน EU ยังต้องการความร่วมมือจากหลาย ๆ ประเทศ ซึ่งอาจทำให้เกิดการล่าช้าขึ้น เช่น การผลิตไฟฟ้าจากแรงลมแถบชายฝั่งทะเลเหนือจำเป็นต้องมีการทำงานร่วมกันของบรรดาประเทศในพรมแดนแถบนั้นเพื่อให้เกิดผลลัพธ์สูงสุด

 

References :

https://www.cnbc.com/2022/02/24/why-europe-depends-on-russia-for-natural-gas.html

Relate Post