Search

ราคาทองคำวันนี้ ตามประกาศสมาคมค้าทองคำ

ประจำวันที่ 00 x.x. 00
ครั้งที่ 0

ราคาทองคำแท่ง 96.5%

ราคาเปิดราคาล่าสุดเปลี่ยนแปลง
00,00000,000
0
(0)
หน่วย THB บาทอัปเดตล่าสุด 00 x.x. 00 เวลา 00:00 น.

ทองรูปพรรณ 96.5%

ราคาเปิดราคาล่าสุดเปลี่ยนแปลง
00,00000,000
0
(0)
หน่วย THB บาทอัปเดตล่าสุด 00 x.x. 00 เวลา 00:00 น.
ดูราคาทองเพิ่มเติม

สิ่งที่คุณอาจสนใจ

[widget_lastupdate_spdr]

โบรกเกอร์ที่แนะนำ

Recommend Broker

เหตุใดดัชนีราคาในสหรัฐฯจะยังพุ่งขึ้นต่อไปในปี 2022

สหรัฐฯปิดฉากปี 2021 ด้วยอัตราเงินเฟ้อที่เป็นสถิติสูงสุดในรอบหลายทศวรรษ ซึ่งก็ไม่ได้เป็นเรื่องที่ดีสำหรับปี 2022 เนื่องจากอาจต้องใช้เวลาอีกชั่วระยะหนึ่งกว่าที่ราคาที่ปรับตัวสูงขึ้นจะกลับคืนสู่สภาวะปกติ

จากข้อมูลดัชนีราคาล่าสุดของเดือนพ.ย.ด้วย 2 มาตรวัดที่ถูกจับตามองมากที่สุดอย่าง ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และดัชนีราคาด้านการบริโภคส่วนบุคคล (PCE  Price Index) ต่างขยับตัวขึ้นจนกลายเป็นสถิติสูงสุดในรอบ 39 ปี

แม้ยังมีมุมมองในด้านบวกบางส่วนจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ที่คอยทำหน้าที่รักษาระดับราคาให้มั่นคง ในขณะเดียวกับที่ทยอยปรับลดมาตรการสนับสนุน (QE) พร้อมกับความคาดหวังถึงการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นเพื่อช่วยลดแรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อ

ผนวกกับข้อมูลล่าสุดที่เผยให้เห็นถึงอัตราการเติบโตของราคาที่เริ่มแผ่วลงในเดือนพ.ย. เมื่อเทียบกับเดือนต.ค.ทั้งในส่วนของ CPI และ PCE  Price Index ก็อาจดูเป็นข่าวดีถึงแม้อัตราการชะลอตัวดังกล่าวจะอยู่แค่ระดับ 0.1 หน่วย % ก็ตาม

อย่างไรก็ตามสิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์ให้ความสนใจมากกว่าคือการเฝ้ามองความเคลื่อนไหวของราคาตลอดช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งมักจะอยู่ที่ 12 เดือน ดังนั้นข้อมูลที่ขยับลงในเดือนพ.ย.จึงแทบไม่มีความหมาย

แม้ในกรณีที่อัตราเงินเฟ้อจะดิ่งลงอย่างฮวบฮาบ แต่มันก็ยังต้องใช้เวลาอีกชั่วระยะหนึ่งในการชี้นำค่าดัชนีต่าง ๆ ให้แสดงผลออกมา และนั่นก็เป็นสิ่งที่ เจอโรม พาวเวลล์ ประธาน Fed กำลังพูดถึงสิ่งที่เขาเรียกว่า การเปรียบเทียบฐานที่สูงในปีก่อน (Base Effect)

ทั้งนี้มีหลายเหตุผลที่ยังทำให้ดัชนีราคายังคงลอยตัวอยู่ อันดับแรกคือการติดขัดของระบบซัพพลายเชน ที่แม้ปัญหาคอขวดบางอย่างจะเริ่มลดลงแต่มันก็ยังไม่ได้รับการแก้ไขทั้งหมด และยิ่งเวลาล่วงเลยไปนานเท่าใดราคาก็จะยิ่งขยับตัวสูงขึ้นตามไปเท่านั้น

ปัจจัยต่อมาคือราคาของสินค้าโภคภัณฑ์ที่สูงขึ้นที่ทำให้ต้นทุนของพลังงานและอาหารเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกรณีของอาหาร ราคาที่ขยับตัวขึ้นของมันยังส่งผลให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าน้อยลงหรือปรับเปลี่ยนไปยังร้านค้าอื่น ๆ

นักเศรษฐศาสตร์หลายคนไม่ได้คาดหวังถึงการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในปีถัดไป นอกเหนือจากความต้องการและต้นทุนการขนส่ง ด้วยราคาที่สูงขึ้นของปุ๋ยและสภาพภูมิอากาศที่ยังเลวร้ายต่อเนื่องจะทำให้ราคาอาหารยังไม่ลดลง แม้แรงกดดันของราคาในส่วนของพลังงานจะลดลงก็ตาม

อัตราค่าเช่าที่สูงขึ้นก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่น่ากังวลเพราะที่อยู่อาศัยถือเป็นสัดส่วนใหญ่สำหรับค่าใช้จ่ายของผู้คน ซึ่งจากข้อมูลของธนาคาร Bank of America ในเดือนพ.ย.ได้เผยให้เห็นว่า อัตราค่าเช่าขยับขึ้น 0.4% และยังเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน

อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญคือโอไมครอน โดยหลาย ๆ ประเทศที่รวมถึงสหรัฐฯกำลังมียอดผู้ติดเชื้อไวรัสที่สูงขึ้นจนกลายเป็นสถิติ ซึ่งหากมันนำมาสู่การล็อกดาวน์ครั้งใหม่ก็อาจเกิดการเปลี่ยนแนวทางของผู้บริโภค และเกิดการกระตุ้นความต้องการของสินค้าสำหรับการอยู่ที่บ้าน

แต่ในอีกมุมหนึ่งโอไมครอนก็อาจส่งผลกระทบต่อราคาพลังงาน ในกรณีที่ต้องกลับมาใช้มาตรการล็อกดาวน์และผู้คนเดินทางลดลง ด้วยความต้องการของพลังงานที่น้อยลงก็จะส่งผลต่อราคาที่ลดลง และอาจช่วยคลายความกดดันของราคาในส่วนนี้

 

References :

https://edition.cnn.com/2022/01/01/economy/inflation-prices-2022-preview/index.html

Relate Post