Search

ราคาทองคำวันนี้ ตามประกาศสมาคมค้าทองคำ

ประจำวันที่ 00 x.x. 00
ครั้งที่ 0

ราคาทองคำแท่ง 96.5%

ราคาเปิดราคาล่าสุดเปลี่ยนแปลง
00,00000,000
0
(0)
หน่วย THB บาทอัปเดตล่าสุด 00 x.x. 00 เวลา 00:00 น.

ทองรูปพรรณ 96.5%

ราคาเปิดราคาล่าสุดเปลี่ยนแปลง
00,00000,000
0
(0)
หน่วย THB บาทอัปเดตล่าสุด 00 x.x. 00 เวลา 00:00 น.
ดูราคาทองเพิ่มเติม

สิ่งที่คุณอาจสนใจ

[widget_lastupdate_spdr]

โบรกเกอร์ที่แนะนำ

Recommend Broker

เหตุใดจึงไม่มีใครสามารถแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อในสหรัฐฯได้อย่างรวดเร็ว

ภาวะเงินเฟ้อในสหรัฐฯอาจไม่แค่ปัญหาทางด้านเศรษฐศาสตร์ที่น่าปวดหัว แต่มันยังเป็นประเด็นการโจมตีที่ถูกใช้ในเกมทางการเมืองสำหรับนโยบายหาเสียงส่วนใหญ่ของการเลือกตั้งกลางสมัยในปีนี้

แต่สาเหตุของภาวะเงินเฟ้อก็ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการกระทำหรือการดำเนินการที่หย่อนยานไปของรัฐบาล ซึ่งการแก้ไขปัญหาที่จะต้องดึงอัตราเงินเฟ้อที่ 7% ในขณะนี้ลงมายังระดับคาดหวังที่ 2% ก็ดูจะเกินขอบเขตของผู้ร่างกฎหมาย, ธนาคารกลาง หรือนักเศรษฐศาสตร์ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

หลายปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาในเวลานี้ล้วนเป็นผลลัพธ์ที่มาจากกลไกตลาดทั่วโลก เช่น ราคาพลังงานหรือปัญหาติดขัดในระบบซัพพลายเชน ซึ่งจากปัญหาการขาดแคลนชิปก็ส่งผลต่อเนื่องไปจนถึงผลผลิตของรถยนต์ที่ลดลงและทำให้ราคาของมันพุ่งขึ้นจนกลายเป็นสถิติ

นอกจากนี้ด้วยปริมาณความต้องการที่เข้มแข็งจนส่งผลให้ราคาของการบริการและสินค้าพุ่งขึ้นระหว่างช่วงภาวะวิกฤต COVID-19 ก็ยังไม่มีแนวโน้มจะลดลงมาสู่ระดับปกติ เว้นแต่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยหรือมีมาตรการล็อกดาวน์ครั้งใหม่เพื่อควบคุมปัญหาโรคระบาด

ปธน. โจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯกำลังพยายามลดปัญหาด้านราคาในส่วนที่เขาสามารถทำได้ แต่ขั้นตอนเหล่านั้นก็เปรียบเสมือนแค่การเอาพลาสเตอร์ปิดแผลเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงอำนาจของรัฐบาลที่มีอยู่อย่างจำกัดในการควบคุมราคาที่ถูกขับเคลื่อนโดยกลไกตลาด

ราคาที่สูงขึ้นกำลังเป็นปัญหาใหญ่สำหรับ ไบเดน ในขณะที่เขามีทางเลือกอยู่ในมือไม่มากนักทั้งการปล่อยน้ำมันออกจากคลังสำรองทางยุทธศาสตร์ (SPR) หรือแผนทุ่มงบ $1 พันล้านเพื่อแก้ปัญหาเนื้อสัตว์แพง แต่มันก็ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อเท่าไรนัก

ในขณะที่การควบคุมปัญหาเงินเฟ้อก็ถือเป็นภารกิจหลักของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) โดยเมื่อช่วงเริ่มต้นวิกฤต COVID-19 ทางสถาบันได้ทำการหั่นอัตราดอกเบี้ยลงมาอยู่ระดับใกล้ศูนย์ และอัดฉีดเงินหลายหมื่นล้านดอลลาร์เข้าสู่ตลาดทุกเดือนผ่านโครงการซื้อพันธบัตร

แต่หลังกระบวนการฟื้นตัวผ่านพ้นไป Fed ก็ไม่สามารถปรับเปลี่ยนทิศทางของเศรษฐกิจโลกได้ในทันที พวกเขากำลังใช้เครื่องมือต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหาด้านราคา ทั้งการถอนคันเร่งจากนโยบายสนับสนุนเศรษฐกิจและการส่งสัญญาณถึงแผนการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นในปีนี้

การขยับอัตราดอกเบี้ยจะช่วยลดความร้อนแรงของดัชนีราคา แต่การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะดำเนินการแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยตลาดต่างคาดหวังถึงการปรับดอกเบี้ยขึ้น 3 ถึง 4 ครั้งจนไปอยู่ที่ระดับประมาณ 1% ภายในสิ้นปี 2022

ในขณะที่กลุ่มนักการเมืองหลายคนมักจะเปิดประเด็นโจมตีไปถึงเรื่องใครที่จะถูกตำหนิจากปัญหาราคาที่สูงขึ้น แต่นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ต่างชี้ไปถึงปัจจัยหลาย ๆ เรื่อง และส่วนใหญ่จะเน้นไปถึงผลกระทบที่มาจาก COVID-19 ซึ่งก็ไม่สามารถจัดการอะไรกับมันได้มากนัก

มาตรการเยียวยาหลายรอบที่ผลักดันงบนับล้านล้านดอลลาร์เข้าสู่มือผู้บริโภคได้ทำให้ความต้องการของสินค้าเพิ่มขึ้น แต่มันก็เป็นปริมาณที่ผู้ผลิตไม่สามารถรองรับได้ ซึ่งก็เป็นไปตามหลักเศรษฐศาสตร์พื้นฐานเมื่อมีอุปสงค์ที่เข้มแข็งบวกกับอุปทานที่จำกัดก็ทำให้ราคาพุ่งสูงขึ้น

ในขณะเดียวกันปัญหาโรคระบาดยังเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของตลาดแรงงาน เมื่อปัญหาขาดแคลนแรงงานทำให้ค่าแรงสูงขึ้น และอาจไปเพิ่มความต้องการจนส่งผลต่อราคาที่สูงขึ้นไปอีก หากแต่ค่าแรงที่เพิ่มขึ้นก็ยังคงห่างไกลจากมูลค่าของรายรับที่ลดลงจากอัตราเงินเฟ้อ

 

References :

https://edition.cnn.com/2022/01/13/economy/inflation-economy-biden-fed-covid/index.html

Relate Post