Search

ราคาทองคำวันนี้ ตามประกาศสมาคมค้าทองคำ

ประจำวันที่ 00 x.x. 00
ครั้งที่ 0

ราคาทองคำแท่ง 96.5%

ราคาเปิด ราคาล่าสุด เปลี่ยนแปลง
00,000 00,000
0
(0)
หน่วย THB บาท อัปเดตล่าสุด 00 x.x. 00 เวลา 00:00 น.

ทองรูปพรรณ 96.5%

ราคาเปิด ราคาล่าสุด เปลี่ยนแปลง
00,000 00,000
0
(0)
หน่วย THB บาท อัปเดตล่าสุด 00 x.x. 00 เวลา 00:00 น.
ดูราคาทองเพิ่มเติม

สิ่งที่คุณอาจสนใจ

กองทุนทองคำ ปริมาณการถือครองทองคำ SPDR ล่าสุด

ประจำวันที่ 19 เม.ย. 2567

ถือครองก่อนหน้า Previous Holding (ton)

827.59

ถือครองล่าสุด Last Holding (ton)

827.59

ทองคำตลาดโลก Gold Spot

2,378.56

เปลี่ยนแปลง Changes

0.00
วันนี้ +0.00
ดูราคาทองเพิ่มเติม

โบรกเกอร์ที่แนะนำ

Recommend Broker

UK ขึ้นแท่นประเทศผู้นำด้านเศรษฐกิจที่อ่วมจากปัญหา COVID-19 มากที่สุด

รู้หรือไม่ – ต้นทุนของผู้ที่อยู่ระหว่างการพักงานใน UK มีมูลค่าสูงถึง 33.8 พันล้านปอนด์

หลังรายงานผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของสหราชอาณาจักรที่ลดลงถึง 20.4% ในไตรมาสที่สองของปีนี้ ก็ได้สะท้อนให้เห็นถึงการก้าวเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่รุนแรงสุดจากบรรดากลุ่มประเทศผู้นำด้านเศรษฐกิจของโลก

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในช่วงระหว่างเดือนเม.ย.ถึงมิ.ย.ยังเป็นสถิติที่เลวร้ายสุดในรอบไตรมาสนับตั้งแต่การเริ่มต้นบันทึกสถิติในปี 1955 ของพวกเขา ทุกภาคส่วนทั้งในด้านการบริการ, การผลิต และการก่อสร้างต่างได้รับผลกระทบอย่างหนักจากมาตรการล็อคดาวน์

และหากเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว ผลิตผลด้านเศรษฐกิจของ UK ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2020 ก็มีอัตราการลดลงแบบสะสมถึง 22.1% ซึ่งสูงกว่าตัวเลขของเยอรมนี, ฝรั่งเศส และอิตาลี ในขณะที่ยังมากกว่าเป็นสองเท่าจากอัตราที่ลดลง 10.6 ของสหรัฐฯ

ท่ามกลางกลุ่มประเทศ G7 รายอื่น ๆ ต่างก็คาดหมายถึง GDP ในไตรมาสที่สองว่าจะลดลงน้อยกว่า UK ทั้งสิ้น โดยแคนาดามองว่า GDP ในไตรมาสที่สองจะลดลง 12% เมื่อเทียบกับ 3 เดือนแรกของปี ในขณะที่ Reuters ก็คาดการณ์ว่าญี่ปุ่นจะมีตัวเลขที่ลดลง 7.6%

ในขณะเดียวกันจีนกลับเปิดเผยผลลัพธ์ที่เป็นบวกในช่วงไตรมาสที่สองของปี ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประเทศที่รั้งอันดับสองในด้านเศรษฐกิจของโลกสามารถหลบเลี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้สำเร็จ แม้จะเริ่มต้นปีด้วยสถิติที่เลวร้ายสุดในรอบหลายสิบปี

จากการที่ UK ประกาศล็อคดาวน์ช้ากว่าอิตาลี 2 สัปดาห์, 10 วันหลังจากสเปน และหนึ่งสัปดาห์ต่อจากฝรั่งเศส แม้จะมีเคสผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมากในขณะนั้น จึงทำให้ช่วงเวลาของแพร่ระบาดยาวนานกว่าที่อื่น และส่งผลให้กิจการต่าง ๆ ต้องปิดตัวยาวนานขึ้นตามไปด้วย

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ อิตาลี อนุญาตให้ร้านอาหาร, คาเฟ่ และร้านตัดผมเปิดตัวได้ในช่วงกลางเดือนพ.ค. แต่ UK กลับต้องรอไปจนถึงวันที่ 4 ก.ค. หรือร้านค้าต่าง ๆ ในเยอรมนีเริ่มทยอยเปิดกิจการได้อีกครั้งตั้งแต่วันที่ 20 เม.ย. ซึ่งก็เร็วกว่าของ UK ถึงเกือบ 2 เดือน

จนกระทั่งการเริ่มผ่อนผันมาตรการในเดือนมิ.ย. ก็ทำให้ GDP ของ UK พุ่งขึ้นถึง 8.7% จากเดือนก่อนหน้านั้น ซึ่งแสดงให้เห็นชัดเจนถึงระบบเศรษฐกิจที่ต้องพึ่งพาการบริการและการใช้จ่ายของครัวเรือนอย่างเต็มที่

เนื่องจากช่วงระยะเวลาก่อนหน้านั้น กลุ่มผู้บริโภคที่ต้องอาศัยอยู่แต่ในที่พักของตนเองต่างพากันใช้จ่ายน้อยลง ในขณะที่แรงงานนับล้านต้องถูกพักงาน และมีอีกจำนวนไม่น้อยที่ต้องถูกปลดออกจากตำแหน่ง

หากนับตั้งแต่เดือนมี.ค.เป็นต้นมา มีผู้ที่ตกงานจากปัญหาการระบาดของโรค COVID-19 ใน UK เป็นจำนวนถึง 730,000 คน ในขณะที่นักวิเคราะห์ต่างก็มองว่า ยังไม่สามารถคาดหวังตัวเลขที่ดูดีของค่า GDP ได้ในช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้

และจากปกติการเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยก็เป็นประเด็นที่ต้องมีการทบทวนซ้ำหลายครั้ง แต่จากสถานการณ์ที่ UK กำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ ก็ชี้นำให้เห็นถึงความเสี่ยงที่พวกเขาจะต้องพบกับการหดตัวของเศรษฐกิจที่ 9.5% ตลอดทั้งปี 2020

นักวิเคราะห์ยังมองไปถึงโอกาสในการระบาดซ้ำรอบสองของเชื้อไวรัส และความล่าช้าของการเจรจา Brexit ที่ยังเป็นประเด็นน่าเป็นห่วง ซึ่งจะกลายเป็นตัวขัดขวางที่สำคัญสำหรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

ตลอดเวลาที่ผ่านมา รัฐบาลลอนดอนยังคงล้มเหลวที่จะปิดดีลทางการค้าส่วนใหญ่กับสหภาพยุโรปและประเทศคู่ค้าสำคัญอื่น ๆ ซึ่งปัญหาที่จะตามมาก็คือหากผ่านพ้นปีนี้ไปแล้ว พวกเขาก็จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ใด ๆ สำหรับการส่งออกอีกต่อไป

 

References :

https://edition.cnn.com/2020/08/12/economy/uk-economy-gdp/index.html

https://www.bbc.com/news/uk-scotland-scotland-business-53755571

Relate Post