Search

ราคาทองคำวันนี้ ตามประกาศสมาคมค้าทองคำ

ประจำวันที่ 00 x.x. 00
ครั้งที่ 0

ราคาทองคำแท่ง 96.5%

ราคาเปิด ราคาล่าสุด เปลี่ยนแปลง
00,000 00,000
0
(0)
หน่วย THB บาท อัปเดตล่าสุด 00 x.x. 00 เวลา 00:00 น.

ทองรูปพรรณ 96.5%

ราคาเปิด ราคาล่าสุด เปลี่ยนแปลง
00,000 00,000
0
(0)
หน่วย THB บาท อัปเดตล่าสุด 00 x.x. 00 เวลา 00:00 น.
ดูราคาทองเพิ่มเติม

สิ่งที่คุณอาจสนใจ

กองทุนทองคำ ปริมาณการถือครองทองคำ SPDR ล่าสุด

ประจำวันที่ 19 เม.ย. 2567

ถือครองก่อนหน้า Previous Holding (ton)

827.59

ถือครองล่าสุด Last Holding (ton)

827.59

ทองคำตลาดโลก Gold Spot

2,378.56

เปลี่ยนแปลง Changes

0.00
วันนี้ +0.00
ดูราคาทองเพิ่มเติม

โบรกเกอร์ที่แนะนำ

Recommend Broker

IMF เผยมุมมองการเติบโตของเศรษฐกิจยูโรโซนที่มีแนวโน้มลดลง

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) อาจพิจารณาการปรับลดผลทำนายการเติบโตเศรษฐกิจสำหรับเขตยูโรโซน เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับเชื้อโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์โอไมครอน และปัญหาที่ยังคงยืดเยื้อในการดีดตัวขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ

IMF ได้กล่าวไว้ในเดือนต.ค.ว่า พวกเขาคาดหวังถึงการเติบโตของเศรษฐกิจยูโรโซนที่ 4.3% ในปี 2022 แต่ ณ ตอนนี้ทางกองทุนได้กล่าวเตือนถึงความเป็นไปได้ในระดับหนึ่งของการแก้ไขตัวเลขดังกล่าวในการนำเสนอผลประเมินครั้งถัดไป

แรงกดดันอย่างต่อเนื่องจากปัญหาในระบบซัพพลายเชนและการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงาน รวมถึงการประกาศมาตรการควบคุมโรคระบาดครั้งใหม่ในบางประเทศของภูมิภาค ล้วนเป็นปัจจัยหลักที่สร้างความกังวลให้กับ IMF

ท่ามกลางความพยายามควบคุมปัญหาจาก COVID-19 เยอรมนีและออสเตรียคือตัวอย่างของประเทศที่ประกาศใช้มาตรการล็อกดาวน์แก่ผู้ที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน ในขณะที่กรีซก็มีประกาศปรับเงินแก่ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปและยังไม่เข้ารับการฉีดวัคซีน

นอกเหนือจากภาวะวิกฤตของโรคระบาด ยังมีความกังวลเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะลดลง โดยอัตราเงินเฟ้อในเขตยูโรโซนขยับขึ้นไปสร้างสถิติสูงสุดในเดือนพ.ย.ที่ผ่านมาด้วยระดับ 4.9% ในแบบปีต่อปี

ในขณะที่ IMF ได้เคยกล่าวไว้เมื่อสัปดาห์ก่อนว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ควรจะเร่งปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินให้รัดกุมยิ่งขึ้นเมื่อมองถึงสถานการณ์ของอัตราเงินเฟ้อ หากแต่ข้อความที่สื่อสารไปถึงธนาคารกลางยุโรป (ECB) กลับมีความแตกต่างออกไป

IMF คาดหวังว่าอัตราเงินเฟ้อในเขตยูโรโซนจะลดลงต่ำกว่าระดับ 2% ในปีหน้า ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ECB ก็ยังมีเครื่องมือที่ใช้ในการตอบสนอง แต่หากปราศจากแรงกดดันอื่น ๆ ECB ก็ยังคงสามารถใช้มาตรการผ่อนคลายต่อไปได้

อย่างไรก็ตามการเจรจาต่อรองค่าแรงก็เป็นจุดที่ IMF ให้ความสนใจ โดยชี้ว่ามันอาจเกิดขึ้นบ่อยกว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา หลังการต่อสัญญาจ้างงานต้องหยุดชะงักไประหว่างช่วงภาวะวิกฤต ซึ่งทางกองทุนกำลังจับตามองสถานการณ์เหล่านี้อย่างใกล้ชิด

อัตราการเติบโตของค่าแรงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเป็นอยู่ของภาคประชาชน โดยหากอัตราการเติบโตอยู่ในระดับต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อ ผู้บริโภคก็จะมีอำนาจซื้อที่ลดลงซึ่งอาจส่งผลไปถึงการปรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลาง

ผู้เล่นในตลาดต่างกำลังรอคอยผลการประชุมนโยบายของ ECB ในช่วงสัปดาห์หน้าด้วยความกระวนกระวาย เพื่อจะได้รับทราบถึงความตั้งใจของธนาคารกลางในการตอบสนองต่อข่าวของไวรัสสายพันธุ์โอไมครอนและแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น

แนวโน้มดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่ Fed เปิดเผยไว้เมื่อสัปดาห์ก่อนว่า อาจจะลดระดับโครงการซื้อพันธบัตรเร็วกว่าที่คาดการณ์เอาไว้ แต่ในทางกลับกันธนาคารกลางจีน (PBoC) ได้ประกาศไว้เมื่อวานนี้ว่า จะปรับลดอัตราการดำรงเงินสำรองเพื่อกระตุ้นสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจ

คริสตาลินา จอร์เจียวา ผอ.ใหญ่ของ IMF ยังได้กล่าวถึงความแตกต่างจากจุดเริ่มต้นของภาวะวิกฤต COVID-19 ไว้ว่า ในปัจจุบันสถานะของแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน ทั้งอัตราการระบาด, อัตราการฉีดวัคซีน, อัตราการฟื้นตัว, ระดับหนี้สิน และแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อ

 

References :

https://www.cnbc.com/2021/12/06/imf-could-cut-forecasts-for-the-euro-area-kristalina-georgieva-says.html

Relate Post