Search

ราคาทองคำวันนี้ ตามประกาศสมาคมค้าทองคำ

ประจำวันที่ 00 x.x. 00
ครั้งที่ 0

ราคาทองคำแท่ง 96.5%

ราคาเปิดราคาล่าสุดเปลี่ยนแปลง
00,00000,000
0
(0)
หน่วย THB บาทอัปเดตล่าสุด 00 x.x. 00 เวลา 00:00 น.

ทองรูปพรรณ 96.5%

ราคาเปิดราคาล่าสุดเปลี่ยนแปลง
00,00000,000
0
(0)
หน่วย THB บาทอัปเดตล่าสุด 00 x.x. 00 เวลา 00:00 น.
ดูราคาทองเพิ่มเติม

สิ่งที่คุณอาจสนใจ

[widget_lastupdate_spdr]

โบรกเกอร์ที่แนะนำ

Recommend Broker

COVID-19 สร้างปัญหาให้ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ราว 5 ล้านคนยากจนสุดขีด

ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ออกมาเปิดเผยข้อมูลเมื่อวานนี้ว่า ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังเผชิญกับความยากจนในระดับสูง เนื่องจากการระบาดของ COVID-19 ซ้ำแล้วซ้ำเล่าที่ส่งผลกระทบต่อตลาดแรงงานในภูมิภาค

โดยปีที่แล้ววิกฤตของโรคระบาดได้ลบล้างงานในภูมิภาคไป 9.3 ล้านตำแหน่ง และยังผลักดันให้ผู้คนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้าสู่ความยากจนขั้นรุนแรงไปกว่า 4.7 ล้านคน จากการนิยามกลุ่มบุคคลดังกล่าวว่าเป็นผู้ที่มีรายได้น้อยกว่า $1.90 ต่อวัน

หลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องสูญเสียผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการพัฒนาที่ได้มาอย่างยากลำบาก เนื่องจากพวกเขายังคงต้องต่อสู้กับการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอไมครอน

แม้ทาง ADB จะคาดการณ์ว่า ในภูมิภาคนี้จะมีการเติบโต 5.1% ในปี 2022 เนื่องจากอัตราการฉีดวัคซีนที่สูงขึ้นจนทำให้เศรษฐกิจสามารถกลับมาเปิดตัวใหม่ได้อีกครั้ง แต่ก็ได้กล่าวเตือนว่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่จะสามารถลดการเติบโตได้มากถึง 0.8%

ประเทศที่มีรายงานผู้ป่วย COVID-19 สูงสุดในภูมิภาคนับตั้งแต่เริ่มมีการระบาดครั้งใหญ่ ได้แก่ เวียดนาม (6.55 ล้านคน) อินโดนีเซีย (5.91 ล้านคน) และมาเลเซีย (3.87 ล้านคน) โดยอ้างอิงข้อมูลจาก Our World In Data

แม้ยังมีความผันผวนเกี่ยวกับปัญหาโรคระบาด แต่รองประธานของ ADB ก็ได้กล่าวว่า ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่ดูแลปัญหาภายในของตนเองมาตั้งแต่การเกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง จึงทำให้พวกเขาอยู่ในสถานะที่ดีกว่าในการรับมือกับปัญหาจากวิกฤตล่าสุด

ภูมิภาคที่ต้องพึ่งพาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นอย่างมากในการเติบโต ถูกคาดหมายว่าจะค่อย ๆ มองเห็นการฟื้นตัวของแต่ละภาคส่วนเมื่อพรมแดนด้านการท่องเที่ยวเริ่มเปิดกว้างขึ้น ซึ่งจะช่วยส่งเสริมโอกาสสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจและการจ้างงาน

แต่หนทางดังกล่าวก็ยังคงอีกยาวไกล เพราะแม้นักท่องเที่ยวจากต่างแดนจะมีจำนวนเพิ่มขึ้น 58% ในช่วงเดือนก.ค.-ก.ย.ในปีก่อนเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2020 แต่มันก็ยังคงอยู่ต่ำกว่าระดับของปี 2019 อยู่ถึง 64%

ในขณะที่ไวรัสได้สร้างความเสียหายระยะยาวต่อเศรษฐกิจโดยก่อให้เกิดการหยุดชะงักอย่างรุนแรงต่อระบบซัพพลายเชนและตลาดแรงงาน แต่การขาดการลงทุนในส่วนของการดูแลสุขภาพก็ทำให้ความไม่เท่าเทียมกันเลวร้ายลงไปด้วย

ADB ได้กล่าวกระตุ้นไปถึงภาครัฐโดยชี้ว่า การจัดสรรทรัพยากรมากขึ้นน่าจะช่วยทำให้ระบบสาธารณสุขสามารถส่งมอบการดูแล, ปรับปรุงการเฝ้าระวังโรค และตอบสนองต่อการระบาดครั้งใหญ่ได้ในอนาคต

ทางธนาคารยังกล่าวต่อไปว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อาจเพิ่มขึ้น 1.5% หากการใช้จ่ายด้านสุขภาพภายในภูมิภาคนี้ขยับขึ้นไปถึง 5% ของตัวเลข GDP เมื่อเทียบกับอัตรา 3% ในปี 2021

รองประธานของ ADB ให้ความเห็นทิ้งท้ายว่า ประเทศที่มีความสามารถในการดูแลสุขภาพภายในมากขึ้นและระดับความมั่งคั่งมากขึ้น จะสามารถผ่านกระบวนการนี้ได้ดีกว่าประเทศที่มีรายได้ปานกลางและต่ำ ซึ่งขาดระบบและโครงสร้างพื้นฐานด้านการดูแลสุขภาพ

 

References :

https://www.cnbc.com/2022/03/17/covid-pushed-4point7-million-people-in-southeast-asia-into-poverty-adb.html

Relate Post