Search

ราคาทองคำวันนี้ ตามประกาศสมาคมค้าทองคำ

ประจำวันที่ 00 x.x. 00
ครั้งที่ 0

ราคาทองคำแท่ง 96.5%

ราคาเปิดราคาล่าสุดเปลี่ยนแปลง
00,00000,000
0
(0)
หน่วย THB บาทอัปเดตล่าสุด 00 x.x. 00 เวลา 00:00 น.

ทองรูปพรรณ 96.5%

ราคาเปิดราคาล่าสุดเปลี่ยนแปลง
00,00000,000
0
(0)
หน่วย THB บาทอัปเดตล่าสุด 00 x.x. 00 เวลา 00:00 น.
ดูราคาทองเพิ่มเติม

สิ่งที่คุณอาจสนใจ

[widget_lastupdate_spdr]

โบรกเกอร์ที่แนะนำ

Recommend Broker

ธนาคารกลางทั่วโลกยังคงโฟกัสไปที่ปัญหาเงินเฟ้อท่ามกลางภาวะสงคราม

การบุกเข้าโจมตียูเครนของรัสเซียอาจชะลอการเติบโตทั่วโลกและเพิ่มความเสี่ยงทางเศรษฐกิจใหม่ ๆ แต่ธนาคารกลางชั้นนำหลายแห่งยังคงให้ความสำคัญกับการต่อสู้ปัญหาภาวะเงินเฟ้อที่ดูเหมือนว่าจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น

ในขณะที่ยุโรปอาจมีความเปราะบางมากที่สุดต่อภาวะการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงในวงกว้างจากสงคราม แต่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ก็ได้ชี้แจงอย่างชัดเจนเมื่อวานนี้ว่า ทุกฝ่ายไม่สามารถมองข้ามปัญหาจากอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นในยูโรโซนได้

ECB กล่าวถึงสงครามว่าเป็น “จุดพลิกผัน” ที่อาจยับยั้งอัตราการเติบโตแต่กลับซ้ำเติมปัญหาภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งพวกเขาตัดสินใจที่จะหยุดอัดฉีดเงินเข้าสู่ตลาดในช่วงฤดูร้อนนี้ เพื่อเป็นการเปิดทางให้กับการปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นในช่วงปลายปีนี้

มีบริบทที่คล้ายคลึงกันเกิดขึ้นในประเทศฝั่งตะวันตกอื่น ๆ รวมถึงสหรัฐฯ เนื่องจากคณะรัฐบาลกำลังชั่งน้ำหนักถึงความเสียหายที่อาจเกิดกับเศรษฐกิจของตนจากการทำสงครามกับอัตราเงินเฟ้อที่ทะยานขึ้นอย่างต่อเนื่อง

มีการคาดการณ์ถึงอัตราการเติบโตว่าจะอยู่เหนือแนวโน้มภายในกลุ่มประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะทำให้ประเทศเหล่านั้นมุ่งความสนใจไปที่อัตราเงินเฟ้อที่เติบโตขึ้นเร็วกว่าเกณฑ์มาตรฐานทั่วไปที่ 2%

ธนาคารกลางแคนาดา (BoC) ทำการขยับตัวด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปตั้งแต่ช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา ในขณะที่ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) และธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ถูกคาดหมายว่าจะมีความเคลื่อนไหวในช่วงสัปดาห์หน้า รวมถึงในเดือนถัด ๆ ไป

แม้แต่คณะกรรมการด้านนโยบายการคลัง ซึ่งอ่อนไหวต่อปัญหาการเมืองของการพัฒนาเศรษฐกิจและมักเป็นฝ่ายสนับสนุนนโยบายแบบผ่อนผันของธนาคารกลาง ต่างก็ตระหนักดีถึงอำนาจกัดกร่อนของการขึ้นราคาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ด้วยดัชนีราคาผู้บริโภคที่ดีดตัวขึ้นสูงสุดในรอบ 40 ปี นักลงทุนกำลังคาดหวังว่า Fed จะขยับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นระหว่าง 1.75%-2% ภายในสิ้นปีนี้ และเป็นอัตราที่สูงขึ้น 0.25 หน่วย % จากผลคาดการณ์ในสัปดาห์ก่อน

แต่ผู้ที่แตกแถวออกไปมากที่สุดก็คือธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ที่ถูกคาดการณ์ว่าจะยังคงตรึงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายขั้นสุดเอาไว้เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวที่ยังคงอ่อนไหว แม้การดีดตัวขึ้นของราคาพลังงานจะผลักดันให้อัตราเงินเฟ้อขยับไปถึงเป้าหมายที่ 2% แล้วก็ตาม

เส้นทางของนโยบายการเงินจะมีความชัดเจนน้อยลงในภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากหลาย ๆ ประเทศยังคงล้าหลังจากฝั่งตะวันตกในการยกเลิกกฎระเบียบและข้อจำกัดการควบคุมปัญหาการแพร่ระบาดของ COVID-19

ธนาคารกลางบางแห่งในภูมิภาค เช่น นิวซีแลนด์, เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ ยังคงมีความกังวลอย่างมากเกี่ยวกับปัญหาดัชนีราคาและอัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นเนื่องจากการเสื่อมค่าของสกุลเงินตนเอง ซึ่งได้ส่งผลต่อการกำหนดนโยบายที่ตึงตัวขึ้นแล้ว

ในขณะที่ ฟิลิป โลว์ ผู้ว่าการธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ได้ออกมากล่าวเตือนในวันนี้ว่า สำหรับผู้ที่กู้ยืมอาจต้องใช้ความรอบคอบและการเตรียมพร้อมสำหรับการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นภายในปีนี้ จากปัญหาของอัตราเงินเฟ้อที่กำลังขยายตัวขึ้น

 

References :

https://www.reuters.com/business/finance/global-central-banks-stay-inflation-focused-see-growth-continuing-despite-war-2022-03-10/

Relate Post