Search

ราคาทองคำวันนี้ ตามประกาศสมาคมค้าทองคำ

ประจำวันที่ 00 x.x. 00
ครั้งที่ 0

ราคาทองคำแท่ง 96.5%

ราคาเปิด ราคาล่าสุด เปลี่ยนแปลง
00,000 00,000
0
(0)
หน่วย THB บาท อัปเดตล่าสุด 00 x.x. 00 เวลา 00:00 น.

ทองรูปพรรณ 96.5%

ราคาเปิด ราคาล่าสุด เปลี่ยนแปลง
00,000 00,000
0
(0)
หน่วย THB บาท อัปเดตล่าสุด 00 x.x. 00 เวลา 00:00 น.
ดูราคาทองเพิ่มเติม

สิ่งที่คุณอาจสนใจ

กองทุนทองคำ ปริมาณการถือครองทองคำ SPDR ล่าสุด

ประจำวันที่ 29 มี.ค. 2567

ถือครองก่อนหน้า Previous Holding (ton)

830.15

ถือครองล่าสุด Last Holding (ton)

830.15

ทองคำตลาดโลก Gold Spot

2,232.77

เปลี่ยนแปลง Changes

0.00
วันนี้ +0.00
ดูราคาทองเพิ่มเติม

โบรกเกอร์ที่แนะนำ

Recommend Broker

จากแรงกดดันของวิกฤตในยูเครนอาจทำให้จีนเลือกข้างการค้ากับฝั่งตะวันตก

คำเตือนจากสหรัฐฯถึงผลที่จะตามมาจากทุก ๆ ความช่วยเหลือของจีนที่มีต่อรัสเซียในการบุกรุกยูเครน อาจทำให้รัฐบาลปักกิ่งต้องเลือกระหว่างความสัมพันธ์ทางการค้าที่สำคัญกับกลุ่มชาติฝั่งตะวันตกและการเติบโตของพันธมิตรเชิงกลยุทธ์กับรัสเซีย

ลำพังแค่ในส่วนการค้าเพียงอย่างเดียว จีนก็มีความเสี่ยงอยู่ไม่น้อยหลังการสนทนาทางวิดีโอคอนเฟอเรนซ์เกือบ 2 ชั่วโมงระหว่างปธน. โจ เดน แห่งสหรัฐฯและปธน. สี จิ้นผิง แห่งจีนเมื่อวันศุกร์ โดยฝั่งทำเนียบขาวยืนยันว่าการคว่ำบาตรจีนยังคงเป็นทางเลือกหนึ่ง

แม้ความสัมพันธ์ทางการค้ากับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเติบโตขึ้น และสภาพเศรษฐกิจที่พึ่งพาการค้าน้อยลงกว่าในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา แต่ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของจีนยังคงได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญจากการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของชาติฝั่งตะวันตก

นักวิเคราะห์หลายคนกล่าวว่า การเข้าข้างประเทศพันธมิตรทางการเมืองอย่างรัสเซียอาจดูเป็นเรื่องที่ไม่สมเหตุสมผลในแง่ของเศรษฐกิจ เนื่องจากสหรัฐฯและยุโรปยังคงบริโภคสินค้าส่งออกมากกว่า 1 ใน 3 ของจีน

แต่การเล่นงานจีนด้วยมาตรการคว่ำบาตรในหลากหลายรูปแบบเช่นเดียวกับรัสเซีย ก็อาจส่งผลเสียที่ตามมาอย่างรุนแรงต่อสหรัฐฯและทั่วโลก จากการที่จีนเป็นประเทศที่มีขนาดของเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกและเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่สุด

ตลอดในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมาเศรษฐกิจของจีนขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น $16 ล้านล้าน โดยสวนทางกับการพึ่งพาการค้ากับประเทศอื่น ๆ เพื่อความผาสุกทางเศรษฐกิจที่ลดลง

ในขณะที่ชาวจีนมีฐานะร่ำรวยขึ้น การบริโภคภายในประเทศและการบริการก็มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นในเศรษฐกิจของจีน อย่างไรก็ตามพวกเขายังคงพึ่งพาการค้าอยู่ที่ประมาณ 35% ของตัวเลข GDP ซึ่งยังคงมากกว่าสหรัฐฯที่ 23% หรือญี่ปุ่นที่ 31%

กลุ่มประเทศ G7 ที่เป็นผู้นำด้านเศรษฐกิจของโลกยังคงมีการบริโภคสินค้าส่งออกของจีนมากกว่า 1 ใน 3 แม้ตัวเลขดังกล่าวจะลดลงจากสัดส่วนเกือบครึ่งเมื่อราว 2 ทศวรรษที่ผ่านมา แต่แนวโน้มดังกล่าวก็ยังค่อนข้างคงที่นับตั้งแต่การเกิดวิกฤตการณ์ไครเมียในปี 2014

การค้าโดยรวมระหว่างรัสเซียกับจีนเติบโตขึ้นตั้งแต่ชาติฝั่งตะวันตกเริ่มคว่ำบาตรรัฐบาลมอสโกเพื่อตอบโต้การผนวกไครเมียเข้ากับประเทศตนเอง แต่สัดส่วนการส่งออกของจีนไปยังรัสเซียก็ยังคงอยู่ระหว่าง 1% ถึง 2% ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา

สินค้าหลัก ๆ ที่รัสเซียนำเข้าจากจีนจะเป็นพวกโทรศัพท์มือถือ, คอมพิวเตอร์, เสื้อผ้า และของเล่น ในขณะที่จีนส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐฯมากกว่าเป็น 10 เท่าในแง่ของมูลค่า โดยคิดเป็นตัวเลขถึง $32.4 พันล้านในปี 2020

ส่วนสินค้าหลักที่จีนนำเข้าจากรัสเซียคือน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมอื่น ๆ ด้วยตัวเลข $2.7 หมื่นล้านในปี 2020 ตามมาด้วยสินค้าโภคภัณฑ์อื่น ๆ อย่าง ทองแดง, ไม้เนื้ออ่อน, แก๊สธรรมชาติเหลว, ถ่านหิน, โลหะต่าง ๆ  และแร่เหล็ก

แม้การคว่ำบาตรของกลุ่มชาติตะวันตกจะไม่ได้มุ่งเป้าไปที่การส่งออกน้ำมันและแก๊สของรัสเซียโดยเฉพาะ แต่มาตรการที่มุ่งเน้นไปยังธนาคารรัสเซียโดยห้ามการทำธุรกรรมด้วยเงินดอลลาร์ ก็ได้ขัดขวางความสามารถของจีนในการจัดหาเงินทุนเพื่อการค้าสำหรับน้ำมันของรัสเซีย

 

References :

https://www.reuters.com/business/pressed-choose-sides-ukraine-china-trade-favors-west-2022-03-21/

Relate Post