Search

ราคาทองคำวันนี้ ตามประกาศสมาคมค้าทองคำ

ประจำวันที่ 00 x.x. 00
ครั้งที่ 0

ราคาทองคำแท่ง 96.5%

ราคาเปิดราคาล่าสุดเปลี่ยนแปลง
00,00000,000
0
(0)
หน่วย THB บาทอัปเดตล่าสุด 00 x.x. 00 เวลา 00:00 น.

ทองรูปพรรณ 96.5%

ราคาเปิดราคาล่าสุดเปลี่ยนแปลง
00,00000,000
0
(0)
หน่วย THB บาทอัปเดตล่าสุด 00 x.x. 00 เวลา 00:00 น.
ดูราคาทองเพิ่มเติม

สิ่งที่คุณอาจสนใจ

[widget_lastupdate_spdr]

โบรกเกอร์ที่แนะนำ

Recommend Broker

เศรษฐกิจโลกถึงจุดขาลงจะส่งผลต่อค่าเงินในทิศทางใด

The Great Depression คือเหตุการณ์ที่เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่ที่ส่งผลกระทบรุนแรงที่สุดในช่วงปี 1930 ที่ทำให้ทั้งประเทศที่พัฒนาแล้ว และประเทศกำลังพัฒนาต่างต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยไปพร้อมกัน จากเหตุการณ์ในครั้งนั้นสร้างความเสียหายทางการเงินให้เศรษฐกิจทั่วโลก โดยเฉพาะธนาคารของสหรัฐอเมริกาหลายพันแห่งที่ต้องล้มตามภาคอุตสาหกรรมและตลาดหุ้น ผู้คนหลายล้านคนสูญเสียเงินและต้องตกงานกันเป็นจำนวนมาก กว่าจะผ่านเหตุการณ์นั้นไปได้ก็ต้องใช้เวลานานถึง 10 ปี เลยทีเดียว

กลับมาที่สถานการณ์ปัจจุบันที่เศรษฐกิจโลกกำลังถึงคราวที่น่าเป็นห่วงไม่แพ้กัน ซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนั้นเริ่มต้นจากที่ตลาดหุ้นตกแบบรุนแรง และหลังจากนั้น 3 ปี GDP ทั่วโลกก็ลดลง 15% คล้ายกับเหตุการณ์ที่ตลาดหุ้นตกในเดือนมีนาคม ปี 2020 ไม่มีผิด บวกกับเหตุการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา ทำให้นักลงทุนทั่วโลกกำลังขวัญเสียเป็นอย่างมาก ว่า…เศรษฐกิจโลกจะถึงจุดขาลงแล้วหรือยัง จะมีผลประทบทำให้ค่าเงินผันผวนไปในทิศทางใด

 

 

“มีแนวโน้มว่าวิกฤตเชื้อไวรัสโคโรนาระบาดในครั้งนี้จะส่งผลให้เศรษฐกิจโลกถดถอยครั้งใหญ่อย่างแน่นอน”

 

เศรษฐกิจโลกอยู่ในจุดขาลงจะส่งผลต่อค่าเงินในทิศทางใด

เป็นที่ทราบดีกันอยู่แล้วว่าความเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจโลกนั้นมีผลกระทบกับทิศทางและความผันผวนของค่าเงินเป็นอย่างมาก ยิ่งในภาวะเศรษฐกิจถดถอยในวิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาแบบนี้ยิ่งสร้างความปั่นป่วนให้อัตราการแลกเปลี่ยนค่าเงินมีความผันผวนไม่น้อยเลยทีเดียว อันที่จริงตามปกติอัตราการแลกเปลี่ยนแต่เดิมก็มีความผันผวนสูงอยู่แล้ว ยิ่งบวกกับสถานการณ์ในครั้งนี้ ยิ่งทำให้มีความผันผวนสูงขึ้นไปอีก

 

สถานการณ์ความน่าเป็นห่วงของภาวะเศรษฐกิจถดถอยทำให้คู่สกุลเงินมีความผันผวนสูงขึ้น

นับตั้งแต่การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาที่ระบาดอย่างหนักไปยังนานาประเทศในช่วงต้นปี 2020 คู่สกุลเงินต่าง ๆ ก็ได้เริ่มมีความผันผวนสูงขึ้นตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น

 

ตัวอย่างความผันผวนของคู่สกุลเงินในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา

 

: คู่ USD/JPY ปรับตัวลง 0.11% สู่ระดับ 108.83 หลังจากที่นายกรัฐมนตรีประเทศญี่ปุ่นญี่ปุ่น นายชินโซ อาเบะ ได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างเป็นทางการ

 

: คู่ GBP/USD ขยับลง 0.16% เท่ากับ 1.2317 ในวันที่นายกรัฐมนตรีประเทศอังกฤษ นายบอริส จอห์นสัน ได้อยู่ในหน่วยไอซียูมาเป็นวันที่สองแล้ว

 

: คู่ AUD/USD ย่อตัวลง 0.35% เท่ากับ 0.6441 เมื่อนักวิจัยจาก Pepperstone ได้ออกมาให้สัมภาษณ์กับ CNBC ว่า “ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียกำลังอยู่ในภาวะที่แข็งแกร่งมาก”

 

: คู่ NZD/USD ย่อตัวลง 0.71% เท่ากับ 0.6002 เมื่อประเทศออสเตรเลียเริ่มผ่อนปรนมาตรการล็อกดาวน์แล้ว

 

: คู่ USD/CNY ขยับขึ้น 0.07% เท่ากับ 7.0865 เมื่อหาดบอนไดในซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ได้เปิดรับนักท่องเที่ยวอีกครั้ง หลังเริ่มผ่อนปรนมาตรการล็อกดาวน์แล้ว

 

( รวบรวมข้อมูลมาจาก th.investing.com )

 

เนื่องจากสถานการณ์ความเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มที่น่าเป็นห่วง รวมทั้งวิกฤตโรคระบาดที่ยังไม่ได้รับการคลี่คลายไปในทางที่ดีนัก แม้ในเดือนเมษายนนี้ในบางประเทศก็สามารถควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดกันได้บ้างแล้ว แต่ก็ยังมีอีกหลายประเทศที่ยังคงต้องเผชิญกับปัญหานี้อยู่ ถึงแม้จะมีผลทำให้ทิศทางของค่าเงินมีความผันผวนสูงขึ้นก็จริง แต่ข้อได้เปรียบในการลงทุนกับอัตราการแลกเปลี่ยนค่าเงินก็คือนักลงทุนสามารถทำกำไรได้ทั้งขาขึ้นและขาลงอยู่แล้ว แม้จะส่งผลกระทบให้มีความผันผวนสูงขึ้น แต่ถ้าหากนักลงทุนจับทิศทางการผันผวนของค่าเงินให้ดีก่อนการตัดสินใจลงทุน ก็ไม่น่ามีปัญหาต่อนักลงทุนเท่าไหร่

Relate Post