Search

ราคาทองคำวันนี้ ตามประกาศสมาคมค้าทองคำ

ประจำวันที่ 00 x.x. 00
ครั้งที่ 0

ราคาทองคำแท่ง 96.5%

ราคาเปิดราคาล่าสุดเปลี่ยนแปลง
00,00000,000
0
(0)
หน่วย THB บาทอัปเดตล่าสุด 00 x.x. 00 เวลา 00:00 น.

ทองรูปพรรณ 96.5%

ราคาเปิดราคาล่าสุดเปลี่ยนแปลง
00,00000,000
0
(0)
หน่วย THB บาทอัปเดตล่าสุด 00 x.x. 00 เวลา 00:00 น.
ดูราคาทองเพิ่มเติม

สิ่งที่คุณอาจสนใจ

[widget_lastupdate_spdr]

โบรกเกอร์ที่แนะนำ

Recommend Broker

เมื่อการทำลายสถิติของอัตราเงินเฟ้อมาพร้อมกับโอกาสของราคาน้ำมันที่ $100

หลังสถานะที่ยืดเยื้อกว่าที่คาดการณ์ไว้ ปัญหาเงินเฟ้อดูจะกลายเป็นเรื่องที่น่าปวดหัวยิ่งขึ้นไปอีก จากความคาดหมายของราคาน้ำมันที่จะขยับไปแตะระดับ $100 ซึ่งจะส่งผลให้เกิดแรงกดดันของดัชนีราคาและค่าแรงยิ่งขึ้นไปอีก

ราคาน้ำมันดิบในตลาดฟิวเจอร์สทะยานขึ้น 50% ในปี 2021 และยังเดินหน้าต่อไปถึงระดับ 14% แล้วในปีนี้ด้วยสถิติราคาสูงสุดในรอบ 7 ปีที่ $89 ต่อบาร์เรล ซึ่งจากหลายปัจจัยที่เสริมเข้ามาก็ทำให้สถาบันการเงิน Goldman Sachs ทำนายว่าราคาน้ำมันจะไปถึง $100 ได้ในกลางปีนี้

การปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นทั้งใน UK และนอรเวย์ รวมถึงการส่งสัญญาณจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ที่อาจจะขยายความให้เห็นชัดเจนขึ้นในสัปดาห์หน้า ต่างก็เป็นแผนเตรียมการรับมือสำหรับราคาน้ำมันที่กำลังพุ่งสูงขึ้น

แต่ผู้กำหนดนโยบายยังคงคำนึงถึงรูปแบบการเปรียบเทียบจากการพุ่งขึ้นของราคาน้ำมันในปี 2021 ที่แผ่วลง ซึ่งจะทำให้อัตราเงินเฟ้อในแบบปีต่อปีลดลง แต่ก็มีหลายฝ่ายแย้งว่าผลกระทบในทางจิตวิทยาของราคาน้ำมันที่ $100 ไม่สามารถมองข้ามได้

โดยเฉพาะเมื่อดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐฯในเดือนธ.ค.สร้างสถิติในรอบ 40 ปีด้วยอัตรา 7% ในแบบปีต่อปี เช่นเดียวกับรายงาน CPI ล่าสุดของ UK ที่กลายเป็นจุดพีคในรอบ 30 ปี โดยมีสาเหตุหลักมาจากปัญหาพลังงานที่สูงขึ้น

หากราคาน้ำมันแตะระดับ $100 และคงอยูในระดับนั้นก็จะสร้างความยุ่งเหยิงให้กับการคำนวณของกลุ่มผู้กำหนดนโยบาย เช่น การคาดการณ์ของธนาคารกลางยุโรป (ECB) สำหรับราคาน้ำมันดิบเบรนท์ที่ $77.5 ในปี 2022 และลดลงเหลือ $69.4 ในปี 2024

มันยังอาจเหนี่ยวนำให้ภาคธุรกิจส่งผ่านภาระต้นทุนไปถึงผู้บริโภค หรือการเรียกร้องค่าแรงเพิ่มขึ้นของกลุ่มลูกจ้าง ซึ่งผลกระทบทางอ้อมในลักษณะนี้จะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดวงจรเงินเฟ้อที่ขยายวงกว้างขึ้น และกลายเป็นการกดดันให้ธนาคารกลางต้องออกมาเคลื่อนไหว

ทั้งนี้ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ เว้นแต่ในเขตยูโรโซนที่การขยับขึ้นของราคาน้ำมัน 10% จะส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น 0.5% แม้ผลกระทบในทางตรงมีแนวโน้มจะค่อย ๆ สลายตัวไปอย่างรวดเร็ว

สำหรับในสหรัฐฯผลวิจัยเมื่อเดือนพ.ย.ของสถาบัน CESifo เปิดเผยว่า ในสถานการณ์ที่ราคาน้ำมันแตะ $100 น่าจะส่งผลให้ดัชนีราคาจากรายจ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ขยับขึ้น 1.8 หน่วย % ในแบบปีต่อปีตอนสิ้นปี 2021 และเพิ่มขึ้น 0.4 หน่วย % ตอนปลายปี 2022

ในขณะที่ดัชนีราคาด้านการบริโภคส่วนบุคคลพื้นฐาน (Core PCE) ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดอัตราเงินเฟ้อยอดนิยมของ Fed ก็น่าจะขยับขึ้น 0.4 และ 0.3 หน่วย % ภายในสิ้นปี 2021 และ 2022 ตามลำดับ

นอกจากนี้ยังมีผลกระทบทางอ้อมบางส่วนที่เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจของสหรัฐฯแล้วในขณะนี้ เมื่ออัตราการจ้างงานกำลังขยับเข้าใกล้สถานะเต็มรูปแบบ และอัตราค่าแรงเฉลี่ยก็ก้าวกระโดดขึ้นอย่างมั่นคงที่ 0.6% ในเดือนธ.ค.

สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับราคาน้ำมันเมื่อปริมาณความต้องการที่สูงขึ้นของช่วงฤดูหนาวกำลังกลายเป็นปัจจัยที่สำคัญ โดยในอีกไม่กี่เดือนที่จะถึงนี้น่าจะเป็นการชี้วัดถึงองค์ประกอบอื่น ๆ ของภาวะเงินเฟ้อ อย่างราคาพลังงานและปัญหาซัพพลายเชนว่าจะขยับลดลงหรือไม่

 

References :

https://www.reuters.com/markets/europe/inflation-breaks-records-100-oil-is-also-looming-2022-01-19/

Relate Post