Search

ราคาทองคำวันนี้ ตามประกาศสมาคมค้าทองคำ

ประจำวันที่ 00 x.x. 00
ครั้งที่ 0

ราคาทองคำแท่ง 96.5%

ราคาเปิดราคาล่าสุดเปลี่ยนแปลง
00,00000,000
0
(0)
หน่วย THB บาทอัปเดตล่าสุด 00 x.x. 00 เวลา 00:00 น.

ทองรูปพรรณ 96.5%

ราคาเปิดราคาล่าสุดเปลี่ยนแปลง
00,00000,000
0
(0)
หน่วย THB บาทอัปเดตล่าสุด 00 x.x. 00 เวลา 00:00 น.
ดูราคาทองเพิ่มเติม

สิ่งที่คุณอาจสนใจ

[widget_lastupdate_spdr]

โบรกเกอร์ที่แนะนำ

Recommend Broker

ส่องแผนการปล่อยน้ำมันสำรองของสหรัฐฯเพื่อต่อสู้กับปัญหาราคาพลังงาน

มีการคาดหมายกันว่าสหรัฐฯจะประกาศการกู้ยืมน้ำมันดิบจากคลังสำรองของประเทศในวันนี้ โดยเป็นส่วนหนึ่งของแผนการต่อรองกับกลุ่มผู้บริโภคพลังงานหลักในเอเชียเพื่อการลดระดับของราคาพลังงานลงมา

ปธน. ไจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯกำลังเผชิญกับปัญหาที่ท้าทายคะแนนความนิยมจากราคาของน้ำมันเชื้อเพลิงและสินค้าต่าง ๆ ที่พุ่งขึ้น ระหว่างช่วงของการฟื้นตัวจากภาวะวิกฤตของ COVID-19 ซึ่งอาจส่งผลต่อการเลือกตั้งกลางสมัยในปีหน้า

จากแหล่งข่าวระบุว่า การระบายน้ำมันออกจากคลังสำรองทางยุทธศาสตร์ (SPR) จะมีการประกาศออกมาในวันนี้หลังได้รับความร่วมมือจากหลาย ๆ ประเทศ แต่ไม่ได้มีการระบุชัดเจนถึงปริมาณน้ำมันที่จะถูกปล่อยออกมา

ก่อนหน้านี้ ไบเดน ได้ทำการร้องขอไปยังจีน, อินเดีย, เกาหลีใต้ และญี่ปุ่นในการร่วมมือกันปล่อยน้ำมันออกจากคลังสำรองของประเทศ ซึ่งทางสำนักข่าว Reuters ก็ได้รายงานว่า รัฐบาลของญี่ปุ่นและอินเดียได้ทำการตอบรับคำขอนี้

ความพยายามอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนของรัฐบาลวอชิงตันที่ร่วมกับประเทศผู้นำเศรษฐกิจในเอเชีย เหมือนเป็นความตั้งใจที่จะส่งสัญญาณเตือนไปยังกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ ว่าควรจะยกระดับของกำลังการผลิตเพื่อช่วยแก้ปัญหาราคาพลังงานที่สูงขึ้นทั่วทุกแห่ง

องค์การกลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันออก (OPEC) และกลุ่มชาติพันธมิตรที่รวมตัวกลุ่มภายใต้ชื่อ OPEC+ มีกำหนดการที่จะร่วมประชุมกันครั้งต่อไปเพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับนโยบายด้านผลผลิตในวันที่ 2 ธ.ค.นี้

ผลกระทบจากความร่วมมือในครั้งนี้จะขึ้นอยู่กับระยะเวลาและปริมาณที่ออกมา โดยนักวิเคราะห์จาก CommBank ได้กล่าวไว้ว่า การปล่อยน้ำมันมากกว่า 60 ล้านบาร์เรลภายในระยะเวลา 30 วันน่าจะส่งผลต่อราคาในตลาดที่ลดลงอย่างชัดเจน

ที่ผ่านมาปธน.ของสหรัฐฯเคยมีคำสั่งให้ปล่อยน้ำมันฉุกเฉินจากคลัง SPR มาแล้ว 3 ครั้ง โดยหนหลังสุดเกิดขึ้นในปี 2011 ระหว่างสงครามในลิเบีย ในขณะที่ 2 ครั้งก่อนหน้านั้นเกิดขึ้นระหว่างสงครามอ่าวเปอร์เซียในปี 1991 และเหตุพายุเฮอริเคนแคทรีนาในปี 2005

ราคาของน้ำมันที่สูงขึ้นในปัจจุบันไม่ได้มีสาเหตุมาจากการติดขัดของระบบซัพพลายเชน แต่มาจากการฟื้นตัวของปริมาณความต้องการพลังงานทั่วโลกจากจุดต่ำสุดระหว่างช่วงภาวะวิกฤตของโรคระบาด

OPEC+ มีมติในการเพิ่มผลผลิตประมาณ 400,000 บาร์เรลต่อวันในแต่ละเดือนเพื่อการขยับขึ้นไปเทียบเท่ากับระดับของความต้องการ และเลือกที่จะปฏิเสธข้อเรียกร้องของ ไบเดน ในการเพิ่มผลผลิตมากขึ้น โดยแย้งว่าความต้องการที่สูงขึ้นยังคงมีความเปราะบาง

ผลจากความร่วมมือในการปล่อยน้ำมันสำรองเข้าสู่ตลาดควบคู่ไปกับการหันกลับมาใช้มาตรการล็อกดาวน์ในบางประเทศของยุโรป ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ขยับลงมาอยู่ต่ำกว่าระดับ $79.50 ต่อบาร์เรลในช่วงก่อนเปิดตลาดสหรัฐฯวันนี้

นักวิเคราะห์จาก Citigroup ประเมินว่าปริมาณรวมของน้ำมันสำรองที่จะถูกปล่อยออกมาโดยสหรัฐฯและประเทศอื่น ๆ อาจจะอยู่ที่ประมาณ 100-120 ล้านบาร์เรลหรือมากกว่านั้น

 

References :

https://www.cnbc.com/2021/11/23/us-expected-to-unveil-emergency-oil-release-in-bid-to-fight-high-prices.html