Search

ราคาทองคำวันนี้ ตามประกาศสมาคมค้าทองคำ

ประจำวันที่ 00 x.x. 00
ครั้งที่ 0

ราคาทองคำแท่ง 96.5%

ราคาเปิดราคาล่าสุดเปลี่ยนแปลง
00,00000,000
0
(0)
หน่วย THB บาทอัปเดตล่าสุด 00 x.x. 00 เวลา 00:00 น.

ทองรูปพรรณ 96.5%

ราคาเปิดราคาล่าสุดเปลี่ยนแปลง
00,00000,000
0
(0)
หน่วย THB บาทอัปเดตล่าสุด 00 x.x. 00 เวลา 00:00 น.
ดูราคาทองเพิ่มเติม

สิ่งที่คุณอาจสนใจ

[widget_lastupdate_spdr]

โบรกเกอร์ที่แนะนำ

Recommend Broker

สำรวจผลพวงจากสงครามในยูเครนที่มีต่อเศรษฐกิจของบรรดาผู้ที่เกี่ยวข้อง

ในการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการรุกรานของยูเครนเบื้องต้น นักวิเคราะห์กล่าวว่าสหรัฐฯจะเติบโตช้าลงด้วยอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น, เศรษฐกิจของยุโรปจะขยับเข้าใกล้ภาวะถดถอย และรัสเซียจะดำดิ่งลงลึกไปจนถึงตัวเลขสองหลัก

จากการรวบรวมค่าเฉลี่ยของการทำนาย 14 แห่งโดยสำนักข่าว CNBC เปิดเผยว่า เศรษฐกิจของสหรัฐฯจะมี GDP สูงขึ้น 3.2% ในปีนี้ โดยลดลง 0.3 หน่วย % จากผลทำนายของเมื่อเดือนก.พ. แต่ยังคงอยู่เหนือแนวโน้มของการเติบโตหลังการทยอยฟื้นตัวจากปัญหาโอไมครอน

ในขณะที่ดัชนีราคาจากรายจ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE Price Index) ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดอัตราเงินเฟ้อหลักของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ก็ถูกมองว่าจะขยับขึ้น 4.3% ในปีนี้ โดยเพิ่มขึ้น 0.7 หน่วย % จากผลทำนายของเดือนก่อน

แต่ก็ยังมีคำเตือนถึงสิ่งที่ยังไม่ใครล่วงรู้เกี่ยวกับการตอบสนองของเศรษฐกิจสหรัฐฯต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมันดิบแบบฉับพลันที่มุ่งหน้าไปสู่ $130 ต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงเกินกว่า $4 ต่อแกลลอนในขณะนี้

จากการรวบรวมข้อมูลของ CNBC ยังชี้ว่า อัตราการเติบโตของสหรัฐฯน่าจะขยับขึ้นมาอยู่ที่ 3.5% ในช่วงไตรมาสที่ 2 จากอัตรา 1.9% ในไตรมาสที่ 1 แต่นั่นก็ยังเป็นตัวเลขที่ลดลง 0.8 หน่วย % จากผลประเมินก่อนหน้านี้

ส่วนผลคาดการณ์ของอัตราเงินเฟ้อถูกมองว่าจะขยับสูงขึ้นไปอีก 1.7 หน่วย % สำหรับไตรมาสที่ 1 และ 1.6 หน่วย % สำหรับไตรมาสถัดไป ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ถูกประเมินว่าจะลดลงจาก 4.3% ในปีนี้ลงมาอยู่ที่ 2.4% ณ ตอนปลายปี

นักเศรษฐศาสตร์จากบริษัทเงินทุน Amherst Pierpont กล่าวว่า ท่ามกลางราคาพลังงานที่สูงขึ้นและอาจจะทรงตัวได้นานขึ้น แนวโน้มดังกล่าวคาดว่าจะลดระดับลงภายในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ซึ่งหมายถึงผลกระทบที่จะเกิดในระยะสั้นต่อการเติบโตและอัตราเงินเฟ้อ

แต่ก็ยังมีมุมมองในด้านลบบางส่วนเกี่ยวกับราคาที่สูงขึ้นว่าจะเป็นตัวขัดขวางการเติบโตของเศรษฐกิจ จากการที่สหรัฐฯอยู่ในจุดที่เสี่ยงจะเกิด Stagflation หรือภาวะตกต่ำที่มาพร้อมกับภาวะเงินเฟ้อ ด้วยแนวโน้มของราคาพลังงานและอาหารที่อาจจะทะยานขึ้นไปอีกเรื่อย ๆ

ในขณะเดียวกันผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ต่างเห็นพ้องต้องกันว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นในยุโรปจะรุนแรงยิ่งกว่า โดยธนาคาร Barclays ทำนายอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจในยุโรปปีนี้ว่าจะเหลือแค่ 3.5% จากเดิมที่เคยประเมินไว้ 4.1% ในเดือนก่อน

เช่นเดียวกับ JPMorgan ที่ปรับลดผลทำนายการเติบโตของเศรษฐกิจยุโรปลงเกือบ 1 หน่วย % ในปีนี้ โดยคาดการณ์ตัวเลข GDP เอาไว้ที่ 3.2% พร้อมกับมองว่าการเติบโตของเศรษฐกิจในช่วงไตรมาสที่ 2 จะเท่ากับศูนย์

จากผลทำนายหมดต่างชี้ไปถึงรัสเซียว่าจะได้รับผลกระทบหนักสุด โดย JPMorgan ทำนายถึงการหดตัวของค่า GDP ที่ 12.5% หลังการถูกถาโถมด้วยมาตรการคว่ำบาตรในระดับที่ไม่เคยมีมาก่อน และการถูกแช่แข็งสินทรัพย์มูลค่า $6.3 แสนล้านที่อยู่ในรูปของทุนสำรองระหว่างประเทศ

ส่วนสถาบันการเงินระหว่างประเทศ (IFF) ประเมินตัวเลขการหดตัวของเศรษฐกิจรัสเซียที่ 15% ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าการหดตัวจากวิกฤตการเงินโลกในปี 2008 ถึง 2 เท่า และยังชี้ถึงแนวโน้มของความเสี่ยงในทิศทางขาลงที่อาจทำให้รัสเซียไม่มีวันกลับมาเป็นเหมือนเดิมได้อีกต่อไป

 

References :

https://www.cnbc.com/2022/03/06/war-fallout-us-economy-to-slow-europe-risks-recession-and-russia-to-suffer-double-digit-decline.html

Relate Post