Search

ราคาทองคำวันนี้ ตามประกาศสมาคมค้าทองคำ

ประจำวันที่ 00 x.x. 00
ครั้งที่ 0

ราคาทองคำแท่ง 96.5%

ราคาเปิดราคาล่าสุดเปลี่ยนแปลง
00,00000,000
0
(0)
หน่วย THB บาทอัปเดตล่าสุด 00 x.x. 00 เวลา 00:00 น.

ทองรูปพรรณ 96.5%

ราคาเปิดราคาล่าสุดเปลี่ยนแปลง
00,00000,000
0
(0)
หน่วย THB บาทอัปเดตล่าสุด 00 x.x. 00 เวลา 00:00 น.
ดูราคาทองเพิ่มเติม

สิ่งที่คุณอาจสนใจ

[widget_lastupdate_spdr]

โบรกเกอร์ที่แนะนำ

Recommend Broker

สหรัฐฯยังครองตำแหน่งพ่อค้าอาวุธรายใหญ่สุดในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา

รู้หรือไม่ – ญี่ปุ่นมีการนำเข้าอาวุธเพิ่มขึ้น 124% ระหว่างปี 2016 ถึง 2020 โดยเปรียบทียบกับเมื่อ 5 ปีก่อนหน้านั้น

สหรัฐฯมีส่วนแบ่งในตลาดโลกจากการส่งออกอาวุธเพิ่มขึ้น 37% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ตามผลการวิจัยของสถาบันวิจัยสันติภาพสากลสตอกโฮล์ม (SIPRI) โดยการส่งออกที่เพิ่มขึ้นจากสหรัฐฯ, ฝรั่งเศส และเยอรมนีถูกชดเชยด้วยตัวเลขที่ลดลงของจีนและรัสเซีย

ปริมาณการนำเข้าและส่งออกอาวุธของสหรัฐฯยังอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับสถิติสูงสุดของพวกเขานับตั้งแต่สิ้นสุดยุคสงครามเย็น แม้ผลลัพธ์ดังกล่าวอาจมีการเปลี่ยนเนื่องไปจากภาวะวิกฤตของโรคระบาด

ทาง SIPRI ได้ให้ความเห็นไว้ว่า ผลกระทบจากโรค COVID-19 ที่มีต่อระบบเศรษฐกิจอาจทำให้บางประเทศทบทวนปริมาณการนำเข้าอาวุธในปีถัด ๆ ไป หากแต่ระหว่างช่วงพีคของการระบาดในปีที่ผ่านมาก็ยังมีอีกหลายประเทศเซ็นสัญญาด้านอาวุธที่มีมูลค่ามหาศาล

สถาบันวิจัยจากสวีเดนยังเผยตัวเลขยอดขายอาวุธระหว่างปี 2016 ถึง 2020 ที่อยู่ในระดับคงที่เมื่อเทียบกับ 5 ปีก่อนหน้านั้น โดยการส่งออกเกือบครึ่ง (47%) มีเป้าหมายไปยังตะวันออกกลาง

ปัจจุบันสหรัฐฯเป็นผู้จัดส่งอาวุธให้กับ 96 ประเทศทั่วโลก และยังมีสัดส่วนทางการตลาดที่เพิ่มขึ้นอีกระหว่างในรอบ 5 ปีหลังสุด ในขณะที่ฝรั่งเศสก็มีการส่งออกอาวุธเพิ่มขึ้น 44% และเยอรมนีก็มีตัวเลขเพิ่มขึ้น 21%

ภูมิภาคตะวันออกกลางถือเป็นตลาดที่มีการเติบโตเร็วที่สุดสำหรับการค้าอาวุธ โดยมียอดการนำเข้าระหว่างปี 2016 ถึง 2020 ที่เพิ่มขึ้น 25% เมื่อเทียบกับช่วงเวลา 5 ปีก่อนหน้านั้น

ตัวเลขที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจากซาอุดิอาระเบีย (61%), อียิปต์ (136%) และ การตาร์ (361%) นอกจากนี้ซาอุดิอาระเบียยังถือเป็นลูกค้ารายใหญ่สุดของสหรัฐฯ โดยเหมารวมยอดส่งออกอาวุธจากสหรัฐฯในสัดส่วนถึง 24%

เอเชียและโอเชียเนียถือเป็นภูมิภาคที่มีการนำเข้าอาวุธมากที่สุด โดยคิดเป็นสัดส่วนของการค้าอาวุธทั่วโลกถึง 42% ในขณะที่อินเดีย, ออสเตรเลีย, จีน, เกาหลีใต้ และปากีสถานคือผู้นำเข้ารายใหญ่สุดของภูมิภาค

ในทางตรงกันข้าม รัสเซียและจีนกลับมียอดการส่งออกอาวุธที่ลดลงตลอดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา แม้ทั้ง 2 ประเทศจะยังคงมีสถานะเป็นผู้จัดส่งอาวุธรายใหญ่สุดให้กับกลุ่มประเทศในแถบแอฟริกาใต้สะฮารา

การส่งออกอาวุธของรัสเซียที่คิดเป็นสัดส่วน 20% ของการส่งออกอาวุธทั่วโลกระหว่างปี 2016 ถึง 2020 มีปริมาณลดลง 22% จากช่วงเวลา 5 ปีก่อนหน้านั้น โดยมีสาเหตุหลักมาจากการส่งออกอาวุธไปยังคู่ค้าสำคัญอย่างอินเดียที่ลดลงถึง 53%

SIPRI ยังให้ความเห็นเกี่ยวกับรัสเซียว่า แม้พวกเขาจะสามารถเซ็นสัญญามูลค่าสูงกับหลาย ๆ ประเทศขึ้นมาได้ใหม่ ซึ่งอาจทำให้การส่งออกกลับมาทยอยเพิ่มขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า แต่ก็ยังต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายจากสหรัฐฯในภูมิภาคส่วนใหญ่

ในขณะเดียวกัน จีนที่ถือเป็นประเทศอันดับ 5 ของโลกในด้านการส่งออกอาวุธก็มียอดการส่งออกที่ลดลง 7.8% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยที่ปากีสถาน, บังกลาเทศ และแอลจีเรียคือกลุ่มลูกค้ารายใหญ่สุดในการสั่งซื้ออาวุธจากจีน

 

References :

https://www.bbc.com/news/business-56397601

https://www.sipri.org/media/press-release/2021/international-arms-transfers-level-after-years-sharp-growth-middle-eastern-arms-imports-grow-most

Relate Post