Search

ราคาทองคำวันนี้ ตามประกาศสมาคมค้าทองคำ

ประจำวันที่ 00 x.x. 00
ครั้งที่ 0

ราคาทองคำแท่ง 96.5%

ราคาเปิดราคาล่าสุดเปลี่ยนแปลง
00,00000,000
0
(0)
หน่วย THB บาทอัปเดตล่าสุด 00 x.x. 00 เวลา 00:00 น.

ทองรูปพรรณ 96.5%

ราคาเปิดราคาล่าสุดเปลี่ยนแปลง
00,00000,000
0
(0)
หน่วย THB บาทอัปเดตล่าสุด 00 x.x. 00 เวลา 00:00 น.
ดูราคาทองเพิ่มเติม

สิ่งที่คุณอาจสนใจ

[widget_lastupdate_spdr]

โบรกเกอร์ที่แนะนำ

Recommend Broker

ปรากฏการณ์ค่าไฟแห่งประเทศไทย

    ปรากฏการณ์ค่าไฟแห่งประเทศไทย

 

        ณ​ ขณะนี้​ หลายบ้านคงได้รับใบแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้าเดือนล่าสุดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว​ ซึ่งเป็นที่โจษจันกันทั่วทั้งบ้านทั้งเมืองว่า​ “แพงมหาโหด” 

        มหาโหดคือกระโดดจากที่เคยจ่ายปกติไปเยอะ​ ถ้าคิดว่าหลักพันเป็นหลักหมื่นน่าตกใจ​ 

       บางหลังไม่มีใครอยู่บ้านพร้อมเอาคัทเอาท์ลงแต่ปรากฏว่าใบแจ้งหนี้มาหลักหมื่น​ แสดงว่ามีอะไรบางอย่างผิดปกติ

        และอะไรบางอย่างที่สงสัยนั้นเกี่ยวพันกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19​ ที่ขยายวงกว้างไปทั้งโลกจนทำให้วงจรเศรษฐกิจสะดุดไปทุกหย่อมหญ้า

      ในประเทศไทย​ ตั้งแต่รัฐบาลประกาศให้ประชาชน​ ​Lockdown​ อยู่บ้าน​ หยุดเชื้อ​ เพื่อชาติ​ พร้อมกับออกมาตรการเยียวยาด้วยการคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า​

       และให้ส่วนลด​ 3​ เปอร์เซ็นต์

        ภาระในการคืนเงินให้กับคนเกือบทั้งประเทศจึงตกไปอยู่ในมือของการไฟฟ้านครหลวง​ (กฟน.)​ และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค​ (กฟภ.) โดยถึงปัจจุบันก็ยังไม่สามารถคืนเงินให้กับทุกครัวเรือนได้ครบ​ 

        ซึ่งภายใต้มาตรการช่วยเหลือเยียวยานี้​ เมื่อนำมาหักล้างเหตุผลกับใบแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้า​ จึงเกิดคำถามว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ทราบเป็นอย่างดีแล้วว่าสามารถนำเงินกลับเข้ามาชดเชยให้กับการไฟฟ้าได้อย่างไร… ใช่หรือไม่? นี่คือข้อสงสั​ยที่​ 1​

        อะไรบางอย่างที่สงสัยข้อที่​ 2​ คือ​ การออกมาเปิดเผยวิธีคิดค่าไฟอัตราก้าวหน้า​ หรือใช้มากจ่ายมากนั้นเป็นความพยายามของภาครัฐที่จะสร้างความชอบธรรมเรื่องค่าไฟแพง​ ด้วยการบอกกับประชาชนว่าอากาศช่วงหน้าร้อนทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าทำงานหนัก​ และเพราะประชาชนส่วนมากอยู่บ้านจึงทำให้มีการใช้ไฟฟ้าเยอะ

          ซึ่งเมื่อมีบางครอบครัวยืนยันว่าใช้ไฟเท่าเดิม​ หรือปิดบ้านไม่ได้ใช้ไฟฟ้า​ 

          นั่นอาจจะหมายความว่าตัวเลขที่ระบุจำนวนหน่วยการใช้ไฟฟ้าบนมิเตอร์ไม่อาจเชื่อถือได้? 

          ข้อสงสัยที่สำคัญที่สุด​ คือเมื่อประชาชนอยู่บ้านหยุดเชื้อเพื่อชาติ​ สิ่งที่ตอบแทนกลับมาจากรัฐบาลคือการขึ้นค่าไฟอย่างนั้นหรือ​ 

         การหยุดอยู่บ้านสร้างผลกระทบให้กับวงจรเศรษฐกิจตั้งแต่ฐานรากยันรัฐวิสาหกิจระดับชาติ​ คนขาดรายได้เพราะไม่สามารถออกไปทำมาหากิน​ 

          แล้วจะนำเงินที่ไหนมาจ่ายค่าไฟ​ 

       ประเด็นนี้ยังมีคนที่เข้าใจผิดพลาดอยู่เยอะ​ โดยโจมตีผู้ที่เดือดร้อนจากค่าไฟแพงว่าใช้ไฟเยอะ​ ก็ต้องจ่าย​ เป็นเรื่องปกติที่ไม่ควรโวยวาย

        ซึ่งความหมายของคนที่เดือดร้อนคือรายได้ขาดหายไป​ จะเอาจากไหนมาจ่ายค่าไฟ

 

       3.​คำถามหลักๆนี้คืออะไรบางอย่างที่สงสัย​โดยเกี่ยวข้องกับมาตรการ​Lockdown​ ของรัฐบาล

       แม้ว่าล่าสุด​ จะมีประกาศให้เก็บค่าไฟโดยเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์​ ซึ่งอาจทำให้ค่าไฟฟ้าลดลงอีกมากถึง​ 50-70​ เปอร์เซ็นต์​ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเกิดจากการที่คนจำนวนไม่น้อยออกมาเปิดเผยใบแจ้งหนี้ค่าไฟที่สูงผิดปกติ​ ซึ่งนั่นยิ่งสร้างคำถามขึ้นมาในใจประชาชนขึ้นมาใหม่ว่า​… มันลดได้ขนาดนี้เชียวหรือ​ แล้วการไฟฟ้าจะไม่เจ๊งหรืออย่างไร​ เพราะถ้าค่าไฟไม่มีอะไรผิดปกติอย่างที่พยายามบอกมาก่อนหน้านี้ว่าสาเหตุมาจากชาวบ้านใช้ไฟเยอะ

       การเยียวยาแบบบ้าระห่ำลดกระหน่ำSummer sell​ มโหฬารอลังการนี้จะทำไปเพื่ออะไร

        ปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมาคือ​ หากบางบ้านพิสูจน์ได้ว่ามีการนำคัทเอาท์ลงและไม่มีการใช้ไฟ​ ในขณะที่ใบแจ้งหนี้ระบุตัวเลขค่าไฟหลักหมื่น​ การไฟฟ้าจะตอบคำถามอย่างไร​ ความน่าเชื่อถือของประชาชนต่อการจดเลขมิเตอร์ในอนาคตจะเปลี่ยนไปหรือไม่​ 

         ทั้งนี้​ มีกรณีค่าไฟในประเทศมาเลเซียที่สร้างความแปลกใจให้กับชาวมาเลย์เป็นอย่างยิ่ง​ หลังจากใบแจ้งหนี้ส่งมาที่บ้านแล้วพบว่า​ “ถูกเกินไป”  

        เมื่อประชาชนต่างสงสัยว่าทำไมค่าไฟถูก​ ปรากฏว่าคำตอบคือรัฐบาลจัดการช่วยเหลือโดยไม่ต้องร้องขอ​  … ประชาชนไม่ต้องออกมาโวยวาย​ 

        หากยังจำกันได้​ ในเดือนนี้ของปีที่แล้ว​ นายกรัฐมนตรีของไทยก็เคยกล่าวถึงประเด็นที่ประชาชนออกมาโวยเรื่องค่าไฟแพงว่า​ 

      “ค่าไฟแพงเพราะประเทศขาดรายได้​ถ้าคิดว่าค่าไฟแพงก็ไปจุดเทียนไขใช้แทนเอา” 

       หรือจริงๆแล้ว​ นี่อาจจะเป็นคำตอบที่ชาวบ้านสงสัยในวันนี้? 

       หรือจริงๆแล้วค่าไฟฟ้าที่เราจ่ายในทุกเดือน​ เป็นตัวเลขที่สามารถวางแผนและจินตนาการได้โดยใช้สถิติอ้างอิงจากเดือนก่อนๆ​ 

      หรือจริงๆแล้วจำนวนหน่วยที่ระบุในใบแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้า​ว่าเราใช้แต่ละเดือน​ไปเท่าไรนั้น 

       อาจไม่ใช่ปริมาณการใช้ไฟตามความเป็นจริงของเรา? 

Relate Post