Search

ราคาทองคำวันนี้ ตามประกาศสมาคมค้าทองคำ

ประจำวันที่ 00 x.x. 00
ครั้งที่ 0

ราคาทองคำแท่ง 96.5%

ราคาเปิดราคาล่าสุดเปลี่ยนแปลง
00,00000,000
0
(0)
หน่วย THB บาทอัปเดตล่าสุด 00 x.x. 00 เวลา 00:00 น.

ทองรูปพรรณ 96.5%

ราคาเปิดราคาล่าสุดเปลี่ยนแปลง
00,00000,000
0
(0)
หน่วย THB บาทอัปเดตล่าสุด 00 x.x. 00 เวลา 00:00 น.
ดูราคาทองเพิ่มเติม

สิ่งที่คุณอาจสนใจ

[widget_lastupdate_spdr]

โบรกเกอร์ที่แนะนำ

Recommend Broker

สำรวจความต้องการทองคำที่สูงขึ้นของจีนและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในอินเดีย

ปริมาณความต้องการทองคำในจีนกำลังมีการฟื้นตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังตลาดทองคำในประเทศได้รับผลกระทบในทางลบจากปัญหาการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ตลอดในช่วงปีที่ผ่านมา

จากรายงานของเดือนก.ย.ซึ่งเป็นเดือนก่อนที่จะนำไปสู่เทศกาลวันหยุดสำคัญของจีน ได้แสดงให้เห็นถึงยอดการเบิกถอนทองคำออกจาก Shanghai Gold Exchange องค์กรแลกเปลี่ยนซื้อขายทองคำจริงที่ใหญ่สุดของโลกด้วยปริมาณที่สูงขึ้น 27% จากเดือนก่อน

นอกเหนือไปจากการเบิกถอนเป็นจำนวนมากของเดือนก.ย. ตัวเลขการนำเข้าทองคำของจีนยังมีอัตราที่เติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัดจากเดือนส.ค. ซึ่งทั้ง 2 สิ่งนี้ถือเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงแนวโน้มในการฟื้นตัวของตลาดทองคำจีน

นอกจากนี้จากผลการวิเคราะห์โดย schiffgold.com ยังพบว่า อัตราค่าพรีเมียมในระดับท้องถิ่นยังมีการขยับตัวขึ้นเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน ซึ่งเป็นการบ่งบอกชัดเจนถึงความต้องการที่สูงขึ้นสำหรับโลหะมีค่า

ความนิยมที่เพิ่มขึ้นสำหรับการลงทุนในทองคำยังสามารถสังเกตได้จาก ไม่มีรายงานการไหลออกของเงินทุนจากกองทุน Gold-ETF ในจีนเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกันแล้ว โดยปัจจุบันกองทุนในจีนถือครองทองคำเอาไว้ด้วยสถิติปริมาณสูงสุดเป็นอันดับ 2 เท่าที่เคยมีมา

นักวิเคราะห์ต่างให้เหตุผลว่า โอกาสของการเกิด Stagflation หรือภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวแต่อัตราเงินเฟ้อกลับสูงขึ้นส่งผลต่อความต้องการทองคำที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่เดือนต.ค.ยังเป็นช่วงที่ยอดขายเครื่องประดับอยู่ในระดับสูงจากเทศกาลวันชาติจีน

ยอดการผลิตทองคำของจีนในฐานะผู้ผลิตรายใหญ่สุดของโลกยังลดลงจากปัญหาการติดขัดของเหมืองทองคำ และเมื่อรวมเข้ากับนโยบายของรัฐบาลปักกิ่งที่เน้นสนับสนุนการบริโภคทองคำ ก็น่าจะทำให้ความต้องการเพิ่มสูงขึ้นอีกในเดือนถัด ๆ ไป

ทั้งนี้จีนครองอันดับ 1 ด้วยสัดส่วน 11.9% ของการผลิตทองคำทั่วโลกในปี 2020 หรือคิดเป็นน้ำหนักที่ 380 ตัน ตามมาด้วยออสเตรเลียที่มียอดผลผลิตรวม 320 ตัน หรือคิดเป็นอัตราส่วน 10% ของการผลิตทั่วโลก

แม้ความคาดหมายในระยะยาวจะบ่งบอกถึงแนวโน้มในทิศทางบวก แต่ความต้องการทองคำในอินเดียกำลังเผชิญกับความท้าทายในระยะสั้นจากระดับเงินออมของครัวเรือนที่ลดลง, การเข้าถึงบริการทางการเงิน และการลดลงของอัตราเงินเฟ้อจากที่ผ่านมา

นับจากปี 1960 จนถึง 2010 อัตราเงินออมของชาวอินเดียสูงขึ้นจาก 6% ไปเป็น 34.3% ก่อนจะลดลงต่ำกว่า 30% ในปี 2018 และยังคงลดลงเรื่อย ๆ หลังจากชาวอินเดียใช้จ่ายเพิ่มขึ้นไปกับสินค้าและบริการอย่างสมาร์ทโฟน, เสื้อผ้าแฟชั่น และการท่องเที่ยว

การเข้าถึงบริการทางการเงินและความรู้ทางการเงินได้สร้างความท้าทายให้กับตลาดทองคำ โดยมีหลักฐานที่แสดงให้เห็นชัดเจนว่า ตามพื้นที่แถบชนบทสินทรัพย์ที่จับต้องได้ซึ่งรวมถึงทองคำจะได้รับความนิยมในรูปแบบของการลงทุนมากกว่า

จากเดิมที่อัตราเงินเฟ้อในอินเดียเคยทะยานขึ้นกว่า 10% มาตลอดในช่วง 4 ทศวรรษที่ผ่านมา แต่ระหว่างปี 2014 ถึง 2020 อัตราเงินเฟ้อกลับลดลงต่ำกว่า 5% ในขณะที่ค่าแรงด้านการเกษตรก็ลดลง จึงอาจเป็นตัวบั่นทอนความต้องการของทองคำในพื้นที่ชนบท

 

References :

China’s gold demand rebounds sharply, indicating metal’s resurgence

https://www.asianage.com/business/in-other-news/201021/changing-saving-habits-a-challenge-to-gold-demand.html

Relate Post