Search

ราคาทองคำวันนี้ ตามประกาศสมาคมค้าทองคำ

ประจำวันที่ 00 x.x. 00
ครั้งที่ 0

ราคาทองคำแท่ง 96.5%

ราคาเปิดราคาล่าสุดเปลี่ยนแปลง
00,00000,000
0
(0)
หน่วย THB บาทอัปเดตล่าสุด 00 x.x. 00 เวลา 00:00 น.

ทองรูปพรรณ 96.5%

ราคาเปิดราคาล่าสุดเปลี่ยนแปลง
00,00000,000
0
(0)
หน่วย THB บาทอัปเดตล่าสุด 00 x.x. 00 เวลา 00:00 น.
ดูราคาทองเพิ่มเติม

สิ่งที่คุณอาจสนใจ

กองทุนทองคำ ปริมาณการถือครองทองคำ SPDR ล่าสุด

ประจำวันที่ 19 เม.ย. 2567

ถือครองก่อนหน้า Previous Holding (ton)

827.59

ถือครองล่าสุด Last Holding (ton)

827.59

ทองคำตลาดโลก Gold Spot

2,378.56

เปลี่ยนแปลง Changes

0.00
วันนี้ +0.00
ดูราคาทองเพิ่มเติม

โบรกเกอร์ที่แนะนำ

Recommend Broker

สภาทองคำโลกเผยรายงานแนวโน้มความต้องการทองคำในไตรมาสที่ 2

ความต้องการของผู้บริโภคที่มีต่อทองคำมีการฟื้นตัวขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 2 แต่ปริมาณไหลเข้าสู่กองทุน Gold-ETF ยังไม่เพียงพอที่จะชดเชยตัวเลขที่ไหลออกไปเป็นจำนวนมากในช่วงไตรมาสที่ 1 ตามการเปิดเผยข้อมูลโดยสภาทองคำโลก (WGC) เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา

ปริมาณความต้องการทองคำที่ไม่นับรวมการซื้อขายนอกตลาดสำหรับไตรมาสที่ 2 ยังเป็นไปตามแนวโน้มที่เกิดขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2020 ที่ระดับ 955.1 ตัน และทำให้แนวโน้มตามกรอบเวลา H1 มาอยู่ที่ $1,833 หรือลดลง 10% ในแบบปีต่อปี

ความต้องการทองคำในรูปแบบเครื่องประดับของไตรมาสที่ 2 อยู่ที่ 390.7 ตัน โดยขยับขึ้นอย่างต่อเนื่องจากช่วงเวลาที่ย่ำแย่ด้วยปัญหา COVID-19 ในปีก่อน แต่ก็ยังคงอยู่ต่ำกว่าระดับปกติทั่วไปจากเมื่อช่วงก่อนเกิดภาวะวิกฤต

โดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการเติบโตของปริมาณความต้องการในอินเดียที่มีฐานะเป็นผู้บริโภคทองคำอันดับ 2 ของโลกยังคงอ่อนตัวอยู่ โดยกราฟในช่วงกรอบเวลา H1 จะอยู่ที่ 873.7 ตัน ซึ่งลดลง 17% จากค่าเฉลี่ยระหว่างปี 2015-19

ในขณะที่การลงทุนในรูปแบบทองคำแท่งและเหรียญยังมีการเติบโตขึ้นเป็นไตรมาสที่ 4 ติดต่อกันด้วยผลลัพธ์ที่เข้มแข็งในแบบในแบบปีต่อปี โดยตัวเลขความต้องการ 243.8 ตันในไตรมาสที่ 2 แสดงอยู่ในยอดรวม 594 ตันของช่วงเวลา H1 และเป็นสถิติที่ดีที่สุดนับจากปี 2013

ปริมาณไหลเข้าสู่กองทุน Gold-ETF ในไตรมาสที่ 2 ด้วยตัวเลข 40.7 ตันเป็นเพียงยอดชดเชยบางส่วนจากที่ไหลออกไปเป็นจำนวนถึง 129.3 ตันในช่วงไตรมาสที่ 1 ซึ่งถือเป็นสถิติสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2014

ธนาคารกลางมีการซื้อทองคำอย่างต่อเนื่องในไตรมาสที่ 2 จนทำให้ปริมาณทองคำสำรองทั่วโลกเติบโตขึ้น 199.9 ตัน และทำให้กราฟ H1 ของการซื้อทองคำสุทธิอยู่ที่ 333.2 ตัน ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ย H1 ในรอบ 5 ปีถึง 39% และสูงกว่า 29% สำหรับค่าเฉลี่ย H1 ในรอบ 10 ปี

ปริมาณการใช้ทองคำในด้านเทคโนโลยียังมีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องจากที่ดิ่งลงไปในปี 2020 โดยความต้องการในช่วงไตรมาสที่ 2 มีอัตราสูงขึ้น 18% ในแบบปีต่อปีด้วยอัตรา 80 ตัน และยังมีความต้องการในช่วงกรอบเวลา H1 ที่สูงกว่าของปี 2019 เล็กน้อย

สภาทองคำโลก (WGC) ยังเปิดเผยรายงานเกี่ยวกับแนวโน้มการฟื้นตัวของความต้องการทองคำในอินเดียระหว่างไตรมาสที่ 2 จากจุดต่ำกว่า 35% ของค่าเฉลี่ย 5 ปีในช่วงก่อนเกิดภาวะวิกฤตระหว่างไตรมาสที่ 1

ด้วยปริมาณความต้องการที่เพิ่มขึ้นในอินเดียอาจช่วยสนับสนุนให้ราคาทองคำขยับขึ้นเกือบ 4% ภายในช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้ แม้ยอดการนำเข้าโลหะมีค่าที่สูงขึ้นอาจส่งผลให้อินเดียมียอดขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้นและกลายเป็นแรงถ่วงให้กับค่าเงินรูปี

ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปริมาณความต้องการในอินเดียอยู่ที่ 76.1 ตัน โดยอยู่ที่ระดับต่ำกว่าเกือบ 57% จากค่าเฉลี่ยระหว่างปี 2015-19 และส่งผลให้ความต้องการของครึ่งปีแรกอยู่ที่ 216.1 ตัน โดยอยู่ที่ระดับ 1 ใน 3 จากค่าเฉลี่ย 5 ปีก่อนเกิดภาวะวิกฤต

อย่างไรก็ตามความคาดหวังถึงความต้องการที่สูงขึ้นในอินเดียจะอยู่ในช่วงไตรมาสที่ 4 โดยมีเทศกาลงานแต่งงานและเทศกาลประจำฤดูกาลอื่น ๆ ที่เป็นแรงหนุนหลักในการซื้อทองคำโดยเฉพาะในรูปแบบของเครื่องประดับ

 

References :

https://www.gold.org/goldhub/research/gold-demand-trends/gold-demand-trends-q2-2021

https://www.reuters.com/world/india/festivals-weddings-bolster-indias-gold-demand-h2-wgc-2021-07-29/

Relate Post