Search

ราคาทองคำวันนี้ ตามประกาศสมาคมค้าทองคำ

ประจำวันที่ 00 x.x. 00
ครั้งที่ 0

ราคาทองคำแท่ง 96.5%

ราคาเปิด ราคาล่าสุด เปลี่ยนแปลง
00,000 00,000
0
(0)
หน่วย THB บาท อัปเดตล่าสุด 00 x.x. 00 เวลา 00:00 น.

ทองรูปพรรณ 96.5%

ราคาเปิด ราคาล่าสุด เปลี่ยนแปลง
00,000 00,000
0
(0)
หน่วย THB บาท อัปเดตล่าสุด 00 x.x. 00 เวลา 00:00 น.
ดูราคาทองเพิ่มเติม

สิ่งที่คุณอาจสนใจ

กองทุนทองคำ ปริมาณการถือครองทองคำ SPDR ล่าสุด

ประจำวันที่ 29 มี.ค. 2567

ถือครองก่อนหน้า Previous Holding (ton)

830.15

ถือครองล่าสุด Last Holding (ton)

830.15

ทองคำตลาดโลก Gold Spot

2,232.77

เปลี่ยนแปลง Changes

0.00
วันนี้ +0.00
ดูราคาทองเพิ่มเติม

โบรกเกอร์ที่แนะนำ

Recommend Broker

สำรวจแนวโน้มการปรับเปลี่ยนนโยบายของธนาคารกลางชั้นนำทั่วโลก

หลังแนวโน้มของการฟื้นตัวอย่างเข้มแข็งของกลุ่มประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจ ทำให้เริ่มมีการพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องการลดระดับนโยบายสนับสนุนท่ามกลางสถานการณ์ของอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นทั่วโลก

ด้วยความคืบหน้าของการฉัดวัคซีนป้องกัน COVID-19 ก็ทำให้แต่ละประเทศสามารถทยอยปลดล็อคมาตรการควบคุมต่าง ๆ จึงทำให้หลาย ๆ ประเทศเริ่มวางแผนผ่อนผันมาตรการฉุกเฉินและพร้อมจะยุติเส้นทางการปั๊มเงินอัดฉีดเข้าสู่ระบบ

เริ่มจากธนาคารกลางนอรเวย์ (NB) ที่ได้ชื่อว่าเป็นแนวหน้าในการส่งสัญญาณถอยหลัง ซึ่งคำแถลงการณ์เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาระบุว่า พวกเขาเล็งจะปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นถึง 2 ครั้งภายในปีนี้ และอีก 2 ครั้งภายในช่วงกลางปีหน้า

NB ที่ปัจจุบันตรึงอัตราดอกเบี้ยเอาไว้ที่ระดับศูนย์ได้กล่าวไว้ว่าจะเริ่มขยับตัวขึ้นครั้งแรกในเดือนก.ย. ในขณะที่ธนาคารกลางแคนาดา (BoC) ประกาศไว้ในเดือนเม.ย.ว่า จะขยับอัตราดอกเบี้ยขึ้นจากระดับ 0.25% ในช่วงครึ่งหลังของปี 2022

แม้ตัวเลข GDP จะเติบโตขึ้น 1.6% ในช่วงไตรมาสที่ 1 และสูงกว่าผลลัพธ์ที่ธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) เคยประเมินเอาไว้ที่ 0.6% แต่ทางสถาบันก็ยังไม่มีทีท่าที่จะผ่อนผันโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจและขยับอัตราดอกเบี้ยขึ้นจากระดับ 0.25% ในปัจจุบัน

เมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมาธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เริ่มเผยแนวทางการปรับนโยบายการเงินที่อาจเริ่มต้นขึ้นในปี 2023 จากมติส่วนใหญ่ 13 ต่อ 18 เสียงของคณะกรรมการด้านนโยบายที่คาดการณ์ไปถึงการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลานั้น

Fed ยังเปิดฉากพูดคุยถึงเรื่องยุติการเข้าซื้อพันธบัตรที่ถูกใช้เป็นมาตรการฉุกเฉินในการช่วยพยุงภาคธุรกิจมาอย่างยาวนาน 15 เดือน แต่พวกเขาก็ยังไม่มีแผนการที่จะเทขายสินทรัพย์เหล่านั้นภายในอนาคตอันใกล้นี้

ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อใน UK ทะยานขึ้นสูงกว่า 2% ในเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา จนทำให้หลายฝ่ายคาดหมายถึงการขยับตัวของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) แต่นักเศรษฐศาสตร์หลายคนยังคงเชื่อว่า BoE จะยังคงมองข้ามแรงกดดันจากราคาในการประชุมนโยบายครั้งถัดไป

จากเมื่อเดือนก่อนแม้ BoE จะชะลอยอดซื้อพันธบัตรรัฐบาลต่อสัปดาห์จากเดิมที่ £4.4 พันล้านลงมาอยู่ที่ £3.4 พันล้าน แต่ทางสถาบันก็ยืนยันว่านั่นยังไม่ใช่การลดระดับและยังคงรักษายอดรวมของโครงการดังกล่าวเอาไว้ที่ £8.95 แสนล้านต่อไป

ทางด้านธนาคารกลางยุโรป (ECB) ยังคงยึดมั่นในแผนการเดิมด้วยการรักษาระดับการซื้อสินทรัพย์และการคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับต่ำ ล่าสุดทางเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสถาบันก็ได้กล่าวย้ำว่า ยังไม่มีความจำเป็นในการยกเลิกนโยบายสนับสนุนแต่เนิ่น ๆ

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ยังคงยืนยันการรักษาระดับอัตราดอกเบี้ย พร้อมกับสร้างเซอร์ไพรส์ด้วยการเปิดเผยแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยเงินทุนสำหรับการกู้ยืมผ่านทางสถาบันการเงินต่าง ๆ โดยชี้ไปถึงอัตราเงินเฟ้อในประเทศที่ยังคงไปไม่ถึงเป้าหมาย 2%

แม้เศรษฐกิจของออสเตรเลียจะเติบโตได้เกินเป้าหมายที่วางเอาไว้ แต่ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ก็ยังไม่มีแนวโน้มจะปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินจนกว่าจะถึงปี 2024 เช่นเดียวกับธนารกลางสวิส (SNB) ที่เชื่อว่าอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นยังไม่ใช่เหตุผลของการเปลี่ยนแปลงนโยบายในปัจจุบัน

 

References :

https://www.reuters.com/business/finance/great-exit-central-banks-line-up-dial-back-emergency-stimulus-2021-06-17/

Relate Post