Search

ราคาทองคำวันนี้ ตามประกาศสมาคมค้าทองคำ

ประจำวันที่ 00 x.x. 00
ครั้งที่ 0

ราคาทองคำแท่ง 96.5%

ราคาเปิดราคาล่าสุดเปลี่ยนแปลง
00,00000,000
0
(0)
หน่วย THB บาทอัปเดตล่าสุด 00 x.x. 00 เวลา 00:00 น.

ทองรูปพรรณ 96.5%

ราคาเปิดราคาล่าสุดเปลี่ยนแปลง
00,00000,000
0
(0)
หน่วย THB บาทอัปเดตล่าสุด 00 x.x. 00 เวลา 00:00 น.
ดูราคาทองเพิ่มเติม

สิ่งที่คุณอาจสนใจ

[widget_lastupdate_spdr]

โบรกเกอร์ที่แนะนำ

Recommend Broker

มุมมองเศรษฐกิจโลกและปัญหาภาระหนี้จากรายงานล่าสุดของ IMF

รู้หรือไม่ – จากมุมมองล่าสุดของ IMF เชื่อว่าเศรษฐกิจทั่วโลกจะเติบโตขึ้น 6% ในปีนี้และ 4.4% ในปีหน้า

ธนาคารกลางและผู้กำหนดนโยบายจะต้องใช้ความพิถีพิถันในการใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายที่จะเกิดกับการเติบโตของเศรษฐกิจทั่วโลกในระยะกลาง ตามคำกล่าวเตือนของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)

ภาระหนี้สินส่วนเกินและความเปราะบางของสถานะทางการเงินกลายเป็นความเสี่ยงสำคัญที่ถูกบ่งชี้โดย IMF ระหว่างการประชุมในช่วงฤดูใบไม้ผลิที่ถูกจัดขึ้นภายในสัปดาห์นี้

IMF ได้กล่าวชื่นชมสหรัฐฯในการผลักดันนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับพิเศษที่ยังช่วยเร่งการฟื้นตัวให้กับเศรษฐกิจทั่วโลก ในขณะที่ยังกล่าวเตือนถึงความเป็นไปได้ที่มาตรการเหล่านี้จะสร้างความเสียหายต่อโครงสร้างในระยะยาวของระบบเศรษฐกิจทั่วโลก

จากเมื่อช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา IMF ยังได้เผยผลคาดการณ์ของเศรษฐกิจโลกเอาไว้ว่า จะมีการเติบโตขึ้น 6% ภายในปีนี้ ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงขึ้นจากคำทำนายครั้งก่อน และยังประเมินเอาไว้ว่าเศรษฐกิจทั่วโลกมีการถดถอยลง 3.3% ในปีที่ผ่านมา

คริสตาลินา จอร์เจียวา ผอ.ใหญ่ของ IMF ได้ให้ความเห็นไว้ว่า มุมมองที่ดูสดใสขึ้นโดยเฉพาะในสหรัฐฯ ได้รับแรงสนับสนุนจากโครงการแจกจ่ายวัคซีนและนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของปธน. โจ ไบเดน

ในขณะที่ เจฟฟรีย์ โอกาโมโต รองผอ.ของหน่วยงานก็ได้กล่าวว่า นโยบายสนับสนุนทั้งในด้านการเงินและการคลังของธนาคารกลางต่าง ๆ ยังไม่น่าจะก่อให้เกิดความเสี่ยงของเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างควบคุมไม่ได้ในระยะเวลาอันใกล้นี้

 อย่างไรก็ตามจากรายงานฉบับล่าสุดของ IMF ก็ได้ระบุว่า นโยบายที่ถูกใช้ระหว่างช่วงภาวะวิกฤตของโรค COVID-19 อาจก่อให้เกิดผลที่ตามมาโดยไม่ได้ตั้งใจ เช่น การขยายตัวของมูลค่าและความเปราะบางทางการเงินที่สูงขึ้น

ในขณะเดียวกันนักเศรษฐศาสตร์หลายคนต่างก็แสดงความกังวลถึงการใช้เงินทุนช่วยเหลือของ IMF มูลค่า $6.5 แสนล้านสำหรับประเทศที่ประสบปัญหาจากโรคระบาด ว่าจะกลายเป็นการสร้างภาระหนี้สินที่เพิ่มขึ้นให้กับบางประเทศ

แต่เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เจเน็ต เยลเลน รมว.คลังของสหรัฐฯกลับโต้แย้งแนวคิดดังกล่าว โดยชี้ว่าการนำเงินจากกองทุนสิทธิพิเศษถอนเงิน (SDR) ของ IMF ออกมาใช้ไม่ได้เป็นการสร้างภาระเพิ่มเติมแต่อย่างใด เนื่องจากมีกระบวนการที่รองรับไว้ทั้งหมดแล้ว

และเมื่อวันพุธที่ผ่านมา G-20 ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศผู้นำด้านเศรษฐกิจของโลก ก็ได้แถลงการณ์ร่วมเพื่อสนับสนุนการนำเงินจากกองทุน SDR มาใช้ ซึ่งจำเป็นจะต้องผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารของ IMF

ทั้งนี้ทางด้าน จอร์เจียวา ก็ได้เคยกล่าวไว้ตั้งแต่ปลายเดือนที่แล้วว่า การจัดสรรงบจากกองทุน SDR จะช่วยเสริมสภาพคล่องโดยตรงให้กับประเทศต่าง ๆ ได้อย่างเป็นรูปธรรมโดยที่ไม่เป็นการสร้างภาระหนี้สินเพิ่มเติม

 

References :

https://www.cnbc.com/2021/04/08/imf-debt-overhang-and-financial-vulnerabilities-endanger-recovery.html

https://www.cnbc.com/2021/04/08/imfs-650-billion-currency-boost-wont-save-debt-distressed-countries-economist-says.html

Relate Post