Search

ราคาทองคำวันนี้ ตามประกาศสมาคมค้าทองคำ

ประจำวันที่ 00 x.x. 00
ครั้งที่ 0

ราคาทองคำแท่ง 96.5%

ราคาเปิด ราคาล่าสุด เปลี่ยนแปลง
00,000 00,000
0
(0)
หน่วย THB บาท อัปเดตล่าสุด 00 x.x. 00 เวลา 00:00 น.

ทองรูปพรรณ 96.5%

ราคาเปิด ราคาล่าสุด เปลี่ยนแปลง
00,000 00,000
0
(0)
หน่วย THB บาท อัปเดตล่าสุด 00 x.x. 00 เวลา 00:00 น.
ดูราคาทองเพิ่มเติม

สิ่งที่คุณอาจสนใจ

กองทุนทองคำ ปริมาณการถือครองทองคำ SPDR ล่าสุด

ประจำวันที่ 19 เม.ย. 2567

ถือครองก่อนหน้า Previous Holding (ton)

827.59

ถือครองล่าสุด Last Holding (ton)

827.59

ทองคำตลาดโลก Gold Spot

2,378.56

เปลี่ยนแปลง Changes

0.00
วันนี้ +0.00
ดูราคาทองเพิ่มเติม

โบรกเกอร์ที่แนะนำ

Recommend Broker

การอ่อนค่าของเงินเยนอาจไม่ได้เป็นที่ต้องการสำหรับชาวญี่ปุ่นอีกต่อไป

การอ่อนค่าของเงินเยนที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ชื่นชอบสำหรับเศรษฐกิจที่เน้นการส่งออกอย่างญี่ปุ่น กำลังแปรเปลี่ยนเป็นความเจ็บปวดต่สถานะการเงินภายในครัวเรือน และสร้างความสับสนให้กับผู้กำหนดนโยบายในประเทศขณะนี้

ด้วยการทยอยโยกย้ายฐานการผลิตออกไปยังโรงงานที่อยู่ในต่างประเทศ ก็หมายถึงการอ่อนค่าของเงินเยนจะเอื้อประโยชน์ต่อผู้ส่งออกท้องถิ่นน้อยลงกว่าที่เคยเป็นมาตลอดในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา

การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้กระทรวงการคลังของญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในด้านนโยบายการเงิน ขยับเข้ามาสอดส่องผลเสียของสกุลเงินที่อ่อนค่าลงอย่างใกล้ชิด ซึ่งก็คือผลกระทบของต้นทุนในการนำเข้าที่สูงขึ้น

เมื่อลองโฟกัสไปที่ปัญหาดังกล่าวภายในสัปดาห์นี้จะพบว่า ดอลลาร์ขยับขึ้นไปแตะ ¥115.525 ซึ่งถือเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค.ปี 2017 จากความคาดหวังที่สูงขึ้นของการปรับอัตราดอกเบี้ยในสหรัฐฯและมุมมองของเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่ยังดูมืดมัว

การกลับทิศทางที่แข็งค่าของเงินเยนผ่านมาตรการผ่อนคลายทางการเงินอย่างเต็มขึ้น เป็นหนึ่งในเป้าหมายหลักตามนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของอดีตนายกฯ ชินโซ อาเบะ ตลอด 8 ปีที่ผ่านมา ซึ่งดูเหมือนนายกฯ ฟูมิโอะ คิชิดะ ก็น่าจะเดินตามรอยนี้ต่อไป

ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมาเงินเยนอ่อนค่าลง 50% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ แต่ปริมาณการส่งออกกลับไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากนัก ในขณะที่มันเป็นผลดีสำหรับบริษัทของญี่ปุ่นในต่างแดนที่ไม่จำเป็นต้องผลิตสำคัญให้ดึงดูดลูกค้าจากต่างชาติมากนัก

จากข้อมูลในปี 2020 ราว 1 ใน 4 ของบริษัทผู้ผลิตสัญชาติญี่ปุ่นใช้ฐานการผลิตในต่างแดน โดยเทียบกับสัดส่วน 18% ของเมื่อปี 2010 หลังมีเหตุการณ์ภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในปี 2011 เป็นตัวเร่งแนวโน้มดังกล่าว

ปัจจุบันการส่งออกของญี่ปุ่นยังคิดเป็นสัดส่วนเพียง 15% ของตัวเลข GDP ในปี 2020 ซึ่งถือเป็นอันดับ 2 จากท้ายรองจากสหรัฐฯท่ามกลางสมาชิกขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) หลังมีตัวเลขลดลงจาก 17.5% ในปี 2007

ในทางตรงกันข้ามการใช้จ่ายของผู้บริโภคยังคงครองสัดส่วนอย่างเหนียวแน่นอยู่ที่ 53% ของตัวเลข GDP ซึ่งก็ทำให้เศรษฐกิจของญี่ปุ่นมีความเปราะบางเพิ่มขึ้น จากการทะยานขึ้นของราคาสินค้านำเข้าที่มีผลมาจากการอ่อนค่าของเงินเยน

ตัวอย่างเช่น ราคาของ iPhone รุ่นใหม่พุ่งขึ้นเป็น 3 เท่าจากเมื่อ 10 ปีก่อนที่ตัวเลข ¥190,000 หรือเทียบเท่า 60% ของเงินเดือนเฉลี่ยในญี่ปุ่น อย่างไรก็ตามตลอดช่วงทศวรรษที่ผ่านมาฐานเงินเดือนในประเทศไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงขึ้นอย่างชัดเจน

หนสุดท้ายที่รัฐบาลญี่ปุ่นเข้ามาแทรกแซงการอ่อนค่าของสกุลเงินหลักต้องย้อนกลับไปในปี 1998 ท่ามกลางวิกฤตทางการเงินที่ทำให้ค่าเงินทะลุขึ้นไปถึง ¥146 เมื่อเทียบกับดอลลาร์ แต่นักวิเคราะห์หลายคนเชื่อว่าจะยังไม่มีการขยับตัวในเวลานี้เว้นแต่จะขยับขึ้นไปถึง ¥125

ในขณะที่ ฮารุฮิโกะ คุโรดะ ประธานธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ยังคงยืนยันถึงข้อดีในการอ่อนค่าของเงินเยนว่ายังอยู่เหนือกว่าข้อเสีย แต่ก็มีเจ้าหน้าที่ระดับสูงของ BoJ บางคนยอมรับว่ามันส่งผลเสียมากกว่าจากอำนาจซื้อของชาวญี่ปุ่นที่จะลดลงไปในระยะยาว

 

References :

https://www.reuters.com/markets/currencies/japan-weaker-yen-may-not-be-blessing-it-once-was-2021-11-26/

Relate Post