กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

[STO] Stochastic ฉบับใช้งาน

  • 2 replies
  • 3,048 views
*

beovl.desperx

[STO] Stochastic ฉบับใช้งาน
« เมื่อ: 11, พฤษภาคม 2017, 11:30:02 PM »
บทนำ

STO หรือ Stochastic คืออินดิเกเตอร์พื้นฐานที่มีมาให้พร้อมกับลง MT4 ซึงกำเนินในปี 1950 ในยุคที่กล้องยังถ่ายรูปยังขาวดำและเป็นปีที่เกิดสงครามเย็น
ปัจจุบันปี 2016 ซึ่งผ่านมาแล้ว 66 ปีก็ยังมีติดเครื่องอยู่นั่นหละ .... เอ่หรือมันจะใช้ได้จริงๆ งั้นเรามาลองดูกัน
ซึ่งที่ผ่านมาก็พยามหาข้อมูลศึกษาจากหลายๆทางก็พอกดเข้ามาปุ๊ป กรรมเจออะไรไม่รู้

เจอแบบนี้เกือบปิดเลย ..... แต่แหมม โฆษณาสะผ่านมา 66 ปียังมีคนใช้อยู่เลยเอานะลองดู

คำศัพท์ที่ใช้สำหรับ STO

    Overbought หมายถึง สภาวะที่เกิดการซื้อมากเกินไป (มีอุปสงค์ > อุปทาน) ตามหลักการนั้น เป็นสภาวะที่ราคามีโอกาสปรับตัวลดลงจากความไม่สมดุลของอุปสงค์และอุปทานดังกล่าว โดยสัญญาณของ Stochastic จะบ่งชี้ถึงภาวะ Overbought เมื่อ %K > 80 เป็นต้นไป และจะเข้าสู่ภาวะ Super overbought เมื่อ %K > 90

    Oversold หมายถึง สภาวะที่เกิดการขายมากเกินไป (มีอุปสงค์ < อุปทาน) ตามหลักการนั้น เป็นสภาวะที่ราคามีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้นจากความไม่สมดุลของอุปสงค์และอุปทานดังกล่าว โดยสัญญาณของ Stochastic จะบ่งชี้ถึงภาวะ Oversold เมื่อ %K < 20 เป็นต้นไป และจะเข้าสู่ภาวะ Super oversold เมื่อ %K < 10
เทคนิคการเข้า Order ของ Sto
  การบ่งบอกจุดซื้อจุดขายจะต้องนำ %D มาใช้ในการบอกจุดด้วย ซึ่งอย่างที่บอกไปแล้วว่า %D นั้นได้มาจากการเฉลี่ย %K 3 วัน (เฉลี่ยแบบ Simple Moving Average) เราจึงเห็นว่า STO. มี 2 เส้น คือ %K และ %D โดยสัญญาณซื้อ – ขาย แบ่งได้ 3 แบบ
ซื้อ : เมื่อ %K ตกลงเข้าในเขต Oversold และดีดกลับขึ้นมา > 20 ได้
ขาย : เมื่อ %K เข้าในเขต Overbought และ ตกกลับลงมา < 80 
ซื้อ : เมื่อ %K ตัดขึ้นเหนือ %D
ขาย : เมื่อ %K ตัดลงต่ำกว่า %D

วิธีใช้

จากรูปจะเห็นได้ว่า STO ก็เกิดไดเวอร์เจ้นได้เช่นกันในเมื่อ STO เกินไดเวอร์เจ้นก็มีโอกาศที่จะกลับตัวสูงหรือบางครั้งอาจไปไม่ไกลมากจากตัวอย่าง

สีแดง A - B
จะเห็นว่าถ้าเกิด ไดเวอร์เจ้นที่สัญญาณ B และค่าตัวเลขน้อยกว่าหรือไกล้เคียง 20 นั่นก็คือมีการ Oversold แต่เนื่องจากตลาดหมดแรงที่จะไปมากกว่า จุด A มันจึงกลายเป็นจุดกลับตัวได้

สีน้ำเงิน A-B-C
จากรูปจะเห็นว่า A มีการ overbought ที่สูงเกิน 80 ไปไกลมากนั่นคือสัญญาณแต่ไม่ใช่สัญญานเข้าออเดอร์มันคือเตียมตัว
จากนั้น B ก็มีการมาเทสที่เส้น 80 ซึ่งเลยบ้างนิดหน่อยแต่ถ้าลากเส้นแล้วมันคือสัญญาณไดเวอร์เจ้น
และ C คือตัวคอนเฟริมสัญญาณที่ชัดเจนว่าไม่เข้าถึง 80 และไม่ได้สูงกว่าเส้นเดิมๆเพราะฉนั้นเลยกด กราฟลงมาได้

สีเขียวคือชุดกราฟล่าสุดของวันที่เขียน (11 พ.ค. 60) A-B-C
ก็เหมือนทุกครั้งคือ สัญญาณ A มากกว่า 80
สัญญาณ B ระดับ 80 แล้วทำไดเวอร์เจ้น
และ C มาคอนเฟริมสัญญาณ แต่จะเห็นว่ามันลงจริงแต่ก็ไม่ใช่จะแรงทุกครั้งเสมอไป

รูปภาพวันนี้ที่ลองเข้าตามสัญญาณดูครับ


*ต้องเข้าใจว่าไม่มีระบบที่แน่นอนที่สุดบางทีมันก็หลอกเราได้ แต่ระบบพวกนี้มีไว้เข้าออเดอร์ดีกว่าไม่มีอะไรเลยครับผมถึงผิดก็ผิดแบบเซียน


ซึ่งจริงๆแล้วหลักๆที่ใช้กันก็จะมีอยู่ 3 แบบหลักๆด้วยกัน (แต่ตัวอย่างใช้ 5,3,3)
ซึ่งแต่หละแบบจะมีการเหวี่ยงของ momentum

รูปแค่ตัวอย่างเท่านั้นนะครับ

ขอบคุณที่มาเรื่องเทคนิคการเข้า order และคำศัพท์ที่เขียนไว้ดีอยู่แล้วของเว็บ
http://www.investmentory.com/2013/07/indicator-5-stochastic-oscillator.html

*

iionisukaii

Re: [STO] Stochastic ฉบับใช้งาน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 12, พฤษภาคม 2017, 12:38:59 AM »
งานดีครับ   Ha)** Ha)**

*

beovl.desperx

Re: [STO] Stochastic ฉบับใช้งาน
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 12, พฤษภาคม 2017, 12:46:16 AM »
อ้างจาก: iionisukaii ที่ 12, พฤษภาคม  2017, 12:38:59 AM
งานดีครับ   Ha)** Ha)**

ขอบคุณคร๊าบ ย่อป่าวๆ  **6022**