กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

การใช้งาน Pivot Points

  • 0 replies
  • 10,194 views
การใช้งาน Pivot Points
« เมื่อ: 13, พฤศจิกายน 2016, 05:15:28 PM »
การใช้งาน Pivot Points
ลิขสิทธิ์ Traderider.com
ผู้แปล Mamay

บทนำ

    Pivots Points  เป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับนักเทรดสามารถใช้ในกาตตัดสินแนวรับแนวต้าน Pivot Point ใช้ราคา high  Low และราคาปิดในการสร้างเส้นแนวรับแนวต้าน เหตุนี้  Pivot Points เป็นเครื่องมือที่บอกเทรนด์เอาไว้ทำนายการเคลื่อนไหว ซึ่งมี 5 เวอร์ชั่น ในบทความนี้เราจะว่ากันที่ Standard Pivot Points   Demark Pivot Points  และ  Fibonacci Pivot Point
Pivot Points  ถูกใช้ในกลุ่ม Floor Trader ในการตั้งจุดสำคัญ Floor Trader คือ Day Trader พวกเขาต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ในช่วงเริ่มต้นของวันพวกเขาจะดูราคา high  Low  และราคาปิดในการคำนวณ Pivot Point สำหรับการเทรดในปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้ Pivot Point จะถูกใช้เป็นแนวรับ 1 แนวรับ 2 แนวต้าน 1 แนวต้าน 2 ซึ่งจะถูกใช้ในการตัดสินใจตลอดทั้งวัน


Time Frames

    Pivot Points สำหรับ  Time Frame  1, 5, 10  และ  15 นาที ใช้ราคา high  Low และราคาปิดวันก่อน หรือก็คือ สำหรับ Pivot Point สำหรับ Day Trade จะใช้ราคาของเมื่อวานทั้งหมด ซึ่งจะไม่เปลี่ยนแปลงจนกว่าจะสิ้นวันนั้น



    Pivot Point สำหรับ  30  และ  60 นาที จะใช้ราคา high low Close ของสัปดาห์ก่อน ซึ่งการคำนวณจะอยู่บนพื้นฐานของปฏิทิน Pivot Point สำหรับ 30 และ 60 นาทีนี้จะไม่เปลี่ยนแปลงในช่วงสัปดาห์ และจะไม่เปลี่ยนจนกว่าจะสิ้นสัปดาห์เพื่อนำค่าใหม่มาคำนวณ



    Pivot Points  สำหรับกราฟ Daily จะใช้กราฟเดือน ซึ่ง  Pivot Point สำหรับเดือนมิถุนายน วันที่ 1 จะเป็นราคา Low Close และ High สำหรับเดือน May  ซึ่งมันจะค้างอยู่อย่างนั้นในเดือนมิถุนายน จุด Pivot Point ใหม่จะคำนวณสำหรับการเทรดในเดือนกรกฎาคม  ซึ่งจะอยู่บนราคา high Low และ Close ของเดือน June


Pivot Points สำหรับรายสัปดาห์และรายเดือนใช้ข้อมูลรายปี


Standard Pivot Points

    Standard Pivot Points เริ่มจาก เบสิค  Pivot Point  ซึ่งเป็นราคาเฉลี่ยของ high กับ Low และ Close เส้นกลางของ Pivot Point คือเส้นระหว่างแนวรับและแนวต้าน และจำไว้ด้วยว่านี่คือราคา high และ low ของช่วงเวลาก่อนหน้า

Pivot Point (P) = (High + Low + Close)/3

Support 1 (S1) = (P x 2) - High

Support 2 (S2) = P  -  (High  -  Low)

Resistance 1 (R1) = (P x 2) - Low

Resistance 2 (R2) = P + (High  -  Low)


    กราฟข้างล่างแสดง  Nasdaq 100 ETF (QQQ)  พร้อมกับ Standard Pivot  point ในกราฟ 15 นาทีที่เริ่มเทรดวันที่ 9 มิถุนายน  Pivot Point อยู่ตรงกลางและแนวต้านอยู่เหนือขึ้นไปแนวรับอยู่ต่ำกว่า ซึ่งเส้นนี้ไม่เปลี่ยนแปลงในวันนั้น




Fibonacci Pivot Points

    Fibonacci Pivot Points  เริ่มคล้าย ๆ กับ Standard Pivot Points จาก Pivot Point    Fibonacci ของส่วนต่างของ high กับ low ได้ถูกใช้ในการคำนวณแนวต้านและลบออกเพื่อสร้างแนวรับ

Pivot Point (P) = (High + Low + Close)/3

Support 1 (S1) = P - {.382 * (High  -  Low)}

Support 2 (S2) = P - {.618 * (High  -  Low)}

Support 3 (S3) = P - {1 * (High  -  Low)}

Resistance 1 (R1) = P + {.382 * (High  -  Low)}

Resistance 2 (R2) = P + {.618 * (High  -  Low)}

Resistance 3 (R3) = P + {1 * (High  -  Low)}


กราฟข้างล่างแสดง ดัชนี Dow Industrials SPDR (DIA) พร้อมกับ Fibonacci Pivot Points ในกราฟ 15 นาที มี R1 และ  S1 อยู่ที่แนว 38.2%. R2 และ S2 อยู่ที่ 61.8%. R3 และ S3 อยู่บน 100%



Demark Pivot Points

    Demark Pivot Point เริ่มจากการใช้สูตรที่แตกต่างสำหรับแนวรับแนวต้าน ซึ่ง Pivot Points จะอยู่กับความสัมพันธ์ระหว่างราคาปิดและราคาเปิด

If Close < Open, then X = High + (2 x Low) + Close

If Close > Open, then X = (2 x High) + Low + Close

If Close = Open, then X = High + Low + (2 x Close)

Pivot Point (P) = X/4

Support 1 (S1) = X/2 - High

Resistance 1 (R1) = X/2 - Low


    กราฟข้างล่างแสดงดัชนี  Russell 2000 ETF (IWM) พร้อมกับ  Demark Pivot Points ในกราฟ  15 นาที  จะสังเกตุว่ามีเพียงแนวต้าน  (R1) และแนวรับ  (S1) เท่านั้น  Demark Pivot Points จะไม่มี แนวต้านแนวรับหลายอัน



การตั้งค่า

    Pivot Point ในกราฟนี้ ตรงเส้นตรงกลาง  (P)  การเคลื่อนไหวเหนือ  Pivot Point เป็นสัญญาณบวกซึ่งแสดงความแข็งแรงของสัญญาณและควนรู้ไว้ว่า   Pivot Point นั้นอาศัยข้อมูลในอดีต การเคลื่อนไหวแรกที่สำคัญในกราฟนี้ คือ การเคลื่อนไหวเหนือ Pivot Point แนะนำว่าการเบรกสูงกว่าแนวรับแรกแสดงความชัดเจนพร้อมกับแนวต้านที่ 2


    การเคลื่อนไหวต่ำกว่า  Pivot Point บอกว่า สัญญาณอ่อนตัวพร้อมกับแนวรับแรก  การทะลุต่ำลงไปแสดงให้เห็นถึงความอ่อนของเส้นซึ่งแนวต่อไปคือแนวรับที่สอง

แนวรับและแนวต้าน

    ระดับแนวรับและแนวต้านนั้นใช้ Pivot Point สามารถปรับได้เหมือนกับแนวรับแนวต้านซึ่งหัวใจคือ ดูพฤติกรรมราคาของมันอย่างใกล้ชิดเมื่อราคามาถึงระดับราคาของ Pivot  ราคาอาจจะลดลงไปยังแนวรับและเทรดเดอร์สามารถหาจุดกลับตัวซึ่งมันช่วยในการหารูปแบบกระทิง  เช่นเดียวกัน ราคาอาจจะไปที่แนวต้านแล้วกระจุกตรงนั้น นักเทรดสามารถมองหาจุดกลับตัวจากตรงนั้นซึ่งเป็นสัญญาณขาลงจากแนวต้าน


    แนวรับและแนวต้านสามารถใช้ในการวิเคราะห์สัญญาณ Overbought และ Oversold ได้ การเคลื่อนไหวเหนือเส้น แนวต้านที่ 2 แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่ง แต่ว่ามันยังบอกว่า Overbought สามารถทำให้เกิดสัญญาณดีดขึ้นได้ การเคลื่อนไหวต่ำกว่าแนวรับที่สองแสดงให้เห็นถึงความอ่อนแรง แต่ว่าก็ทำให้เกิด Oversold ในระยะสั้นที่ทำให้เกิดการแกว่งขึ้นของราคา



สรุป

    Pivot Point ทำหเทรดเดอร์ในการตัดสินใจทิศทางในการตั้งค่าแนวรับแนวต้าน  ซึ่งจะเริ่มจากการใส่ Pivot Point บางครั้ง ตลาดอาจจะเริ่มเคลื่อนไหวเหนือหรือต่ำกว่า Pivot Point  แนวรับและแนวต้านมีบทบาทในการตัดขึ้นตัดลงของราคา ขณะที่เครื่องมือนี้ได้ออกแบบสำหรับ Floor Trader ซึ่งแนวคิดข้างหลัง Pivot Point สามารถใช้ในการวิเคราะห์ทางเทคนิคได้ แท่งเทียนขาลงเป็นสัญญาณการกลับตัวแสดงการยืนยันการกลับตัวที่แนวต้านที่สอง สัญญาณ  Oversold RSI  สามารถยืนยันเงื่อนไขของ oversold ณ แนวรับที่ 2 การกลับตัวขึ้นใน  MACD สามารถใช้ในการยืนยันความสำเร็จของการทดสอบแนวรับ สุดท้าย บางครั้งแนวรับแนวต้านที่ 2 ก็ไม่ค่อยถูกใช้บ่อยในกราฟ เพราะว่าบางครั้งแนวราคาที่ว่าอยู่ห่างเกินไป 



ลิขสิทธิ์ Traderider.com
ผู้แปล Mamay